การพิจารณาในการวัด
1.
จะวัดอะไร เช่น
การวัดความยาวเส้นรอบรูปของลูกบอล
ชั่งน้ำหนักก้อนหิน
วัดอุณหภูมิของน้ำ วัดระยะเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำวัดปริมาตรของของเหลวในขวด
วัดขนาดของมุม วัดความชื้นของอากาศ
วัดแรงดันของไฟฟ้า ฯลฯ
2.
จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เช่น
ใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูป
ของลูกบอล
ใช้ตาชั่งสปริงชั่งน้ำหนักของก้อนหิน ฯลฯ
3.
เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น เช่น
ทำไมจึงใช้เชือกและไม้บรรทัด
วัดเส้นรอบรูปลูกบอล
จะใช้เครื่องมืออื่นได้หรือไม่ ต้องเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด
4.
จะวัดอย่างไร เช่น
มีเชือกและไม้บรรทัดแล้วจะทำการวัดอย่างไร
มีวิธีการอย่างไร
ตารางแสดงการเปรียบเทียบปริมาณและหน่วยในระบบ
SI
และระบบเมตริก
ปริมาณ
|
ระบบ SI
|
ระบบเมตริก
|
||
ชื่อเต็ม
|
สัญลักษณ์
|
ชื่อเต็ม
|
สัญลักษณ์
|
|
มวล
|
กิโลกรัม
|
kg
|
กรัม
|
g
|
ความยาว
|
เมตร
|
m
|
เซนติเมตร
|
cm
|
พื้นที่
|
ตารางเมตร
|
m2
|
ตารางเซนติเมตร
|
cm2
|
ปริมาตร
|
ลูกบาศก์เมตร
|
m3
|
ลูกบาศก์เซนติเมตร
|
cm3
|
ความหนาแน่น
|
กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
|
kg/m3
|
กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
|
g/cm3
|
อุณหภูมิ
|
เคลวิน
|
K
|
เซลเซียส
|
oc
|
เวลา
|
วินาที
|
s
|
วินาที
|
s
|
องค์ประกอบในการวัดที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ
1.
รูปร่างของสิ่งที่วัด
2. การเลือกใช้เครื่องมือวัด
3. ความสามารถของผู้วัด
***ความคลาดเคลื่อนจากการวัดแก้ไขได้โดยการทำการวัดหลาย
ๆ ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย***
เครื่องมือวัดปริมาณ
ได้แก่ เครื่องมือวัดความยาว กว้าง สูง
มวล น้ำหนัก และปริมาตร เป็นต้น
1) เครื่องมือวัดความยาว ความกว้าง
และความสูง ที่ใช้ทั่วไป คือ ไม้เมตร เทปวัด ตลับเมตร ไม้บรรทัด ไม้โปรแทรกเตอร์
เป็นต้น
2) เครื่องมือวัดมวล ที่ใช้ทั่วไป คือ
ตาชั่ง 3 แขน เครื่องชั่งดิจิตอล
3)
เครื่องมือวัดปริมาตร
3.1) สารเป็นของเหลว ใช้กระบอกตวง หลอดฉีดยา
3.2) สารเป็นของแข็ง สามารถวัดปริมาตรได้ ดังนี้
-
สารเป็นของแข็งรูปทรงเรขาคณิต ใช้เครื่องมือวัด
ความสูง ความยาว ความกว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง
แล้วนำค่าที่ได้ไปคำนวณหาปริมาตรของวัตถุนั้น ๆ
-
สารเป็นของแข็งไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น ก้อนหิน โลหะต่าง ๆ ก้อนแร่ต่าง ๆ
หาปริมาตรโดยการแทนที่น้ำ อุปกรณ์เพื่อหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ เช่น
กระบอกตวง หลอดฉีดยา ถ้วยยูเรกา
โดยใช้ถ้วยยูเรกาและหลอดฉีดยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น