ทักษะการสังเกต หมายถึงกระบวนการหรือความสามารถ ในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างร่วมกันเพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ตรงกับ
ความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป
การสังเกตใช้ประสาทสัมผัส ดังนี้
1. ประสาทตา
สังเกตได้โดยการดู
2. ประสาทหู
สังเกตโดยการฟัง
3. ประสาทจมูก
สังเกตโดยการดมกลิ่น
4. ประสาทลิ้น
สังเกตโดยการชิมรส
5. ประสาทผิวกาย
สังเกตได้โดยการสัมผัส
1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
คือตา หู จมูก ลิ้น ในการสังเกตวัตถุนั้น ๆ เช่น
-
ปากกาสีเขียว ( ตา )
-
ดอกไม้ชนิดนี้กลิ่นฉุน ( จมูก ) -
สบู่เมื่อจับแล้วลื่น ( ผิวกาย ) เป็นต้น
2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตโดยอ้างอิง หน่วยการวัด เช่น
-
วัตถุชิ้นนี้หนักประมาณ 10 กรัม
-
ดินสอแท่งนี้ยาวกว่าดินสอแท่งนั้น -
คาดคะเนด้วยกายสัมผัสว่า น้ำในแก้วนี้มีอุณหภูมิ ประมาณ 40๐ C
3. ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เป็นข้อมูลที่ได้จากผล การเปลี่ยนแปลงของวัตถุ
เมื่อกระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้ความร้อน การบีบ
การนำไปแช่น้ำ เป็นต้น
ตัวอย่าง เมื่อนำเทียนไขไปให้ความร้อนเทียนไขจะละลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น