กิจกรรมจรวดขวดน้ำ
ระดับชั้นเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 1 - 2 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์
1.
นักเรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทำงานของจรวดและฝึก ทักษะการสร้างแบบจำลอง
2.
นักเรียนสามารถอธิบายการปล่อยจรวดได้ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา
3.
นักเรียนเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และเรียน รู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน
หลักการ
จรวดขวดน้ำออกแบบมาภายใต้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กล่าวคือ
จรวดเคลื่อนที่สู่ท้องฟ้าด้วยกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 “แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา”
เมื่อเราใส่น้ำเข้าไปในจรวดและอัดอากาศเข้าไป
น้ำจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับออกมา การลมเข้าไปทำให้ความดันภายในลำตัวจรวดสูงขึ้น
เมื่อดึงสลักออก แรงดันอากาศภายในจะดันให้น้ำพุ่งออกมา
ทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาดันให้จรวดพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อจรวดถูกปล่อยขึ้นไปแล้ว
แรงดันอากาศมิได้หายไปทันที แต่จะลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณน้ำที่อยู่ในจรวดจะช่วยชะลอให้แรงดันค่อยๆ
ลดลง
อุปกรณ์ในการสร้างจรวด:
1.
ขวดน้ำอัดลมแบบพลาสติก 2 ขวด
2.
กรรไกร หรือ คัตเตอร์
3.
กระดาษแข็งสี
4.
เทปกาว
5.
ส่วนหัวจรวด
6.
ดินน้ำมัน
7.
ฐานยิงจรวดสำเร็จรูป
8.
ที่สูบลมจักรยาน
วิธีการสร้างจรวด
1.
ตัดขวดที่สองนำขวดมาต่อกันโดยเอาหันด้านก้นขวดเข้าหากันยึดให้แน่นโดยเทปกาว
2.
ตัดกระดาษแข็งตามที่ต้องการ ทำเป็นรูปปีกจรวดแล้วยึดเข้ากับตัวขวด
3.
ตกแต่งตัวจรวดให้สวยงามตามความพอใจ
การดำเนินกิจกรรม
1.
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คนเท่าๆ กันตามความเหมาะสม
แจกอุปกรณ์ และคำแนะนำวิธีการสร้างจรวด
2.
คุณครูอธิบายหลักการของจรวดขวดน้ำ และกติกาในการแข่งขัน
3.
ในกลุ่มช่วยกันสร้างลำตัวจรวดโดยใช้ขวดน้ำพลาสติก
และออกแบบครีบบังคับทิศทางซึ่งจะทำให้จรวดพุ่งขึ้นได้ตรง พร้อมทั้งตกแต่งลำตัวจรวดตามจินตนาการ
4.
ทดลองยิงจรวด
และช่วยกันค้นหาอัตราส่วนของน้ำที่ใช้ว่ามีผลกับการเคลื่อนที่ของจรวดอย่างไร
และอัตราส่วนเท่าใดที่จะทำให้จรวดพุ่งขึ้นได้สูงที่สุด จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกันว่าสามารถออกแบบให้จรวดพุ่งขึ้นได้สูงที่สุด
สรุปการทำกิจกรรม:
หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้และสนุกกับการประดิษฐ์และยิงจรวดขวดน้ำกันแล้ว
ให้นักเรียนร่วมกันอธิบายถึงหลักการของจรวด
และอัตราส่วนผสมที่ทำให้เกิดแรงดันให้จรวดไปไกลมากที่สุด ช่วยกันคิดว่าอัตราส่วนแบบใดเหมาะสมที่สุดเพราะเหตุใดกฎข้อที่ 3 นิวตัน
“ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงข้ามเสมอ” หรือ “แรงกระทำซึ่งกันและกันของวัตถุทั้งสอง ย่อมมีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้าม”
แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา
กฎข้อนี้แสดงให้เห็นว่าแรงทุกแรงจะเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เมื่อวัตถุ A ส่งแรงกระทำต่อวัตถุ B วัตถุ B ก็จะส่งแรงที่เท่ากันตอบกลับมาในทิศทางที่ตรงข้าม
ตัวอย่าง เช่นผู้ที่กำลังเล่นสเกตเลื่อน ออกแรงผลักผู้เล่นคนอื่น ทั้งคู่ก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกัน
กำหนดค่ามุมยิงจรวด
จรวดขวดน้ำ : Kid Rangers ปฏิบัติการเด็กช่างคิด
แข่งขันจรวดขวดน้ำ
ภาพประกอบกิจกรรมจรวดขวดน้ำ
เพิ่มเติมภาพ : https://photos.app.goo.gl/cbTzo8Jk6MwDE4Gx8
และกลุ่มทักษะทางวิทยาศาสตร์ https://www.facebook.com/groups/1914277122218962/
จัดทำโดย นายวีระชัย จันทร์สุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น