หน้าเว็บ
- หน้าแรก
- วิทยาศาสตร์พาสนุก
- วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ
- โครงงานวิทยาศาสตร์
- พลังงานทดแทน
- เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
- สารบริสุทธิ์
- พื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
- การดำรงค์ชีวิตของพืช
- การทดลองทางวิทยาศาสตร์
- วิทยาศาสตร์ม.1
- ม.2
- ม.3
- รวมแบบทดสอบ ม.ต้น
- วิทยาศาสตร์ ป.1
- ป.2
- ป.3
- ป.4
- ป.5
- ป.6
- วิทยาศาสตร์
- สื่อการสอน
- ผู้จัดทำ
วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563
การตั้งสมมติฐาน
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563
จรวดขวดน้ำ
กฎข้อที่ 3 นิวตัน
“ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงข้ามเสมอ” หรือ “แรงกระทำซึ่งกันและกันของวัตถุทั้งสอง ย่อมมีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้าม”
แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา
กฎข้อนี้แสดงให้เห็นว่าแรงทุกแรงจะเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เมื่อวัตถุ A ส่งแรงกระทำต่อวัตถุ B วัตถุ B ก็จะส่งแรงที่เท่ากันตอบกลับมาในทิศทางที่ตรงข้าม
ตัวอย่าง เช่นผู้ที่กำลังเล่นสเกตเลื่อน ออกแรงผลักผู้เล่นคนอื่น ทั้งคู่ก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกัน
กำหนดค่ามุมยิงจรวด
จรวดขวดน้ำ : Kid Rangers ปฏิบัติการเด็กช่างคิด
แข่งขันจรวดขวดน้ำ
ภาพประกอบกิจกรรมจรวดขวดน้ำ
เพิ่มเติมภาพ : https://photos.app.goo.gl/cbTzo8Jk6MwDE4Gx8
และกลุ่มทักษะทางวิทยาศาสตร์ https://www.facebook.com/groups/1914277122218962/
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563
นักดำน้ำในขวด
ปลอกปากกาที่มีที่หนีบ ดินน้ำมัน คลิปหนีบกระดาษ ขวดพลาสติกใสใบใหญ่พร้อมฝาปิด
วิธีการทดลอง 1. นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปนักประดาน้ำให้มีลำตัวยาว 3.5 cm แล้วติดคลิปหนีบกระดาษที่ด้านหัวแล้ว แขวนไว้กับปลอกปากกา โดยนักดำน้ำจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมพอที่จะผ่านคอขวดลงไปได้
2. เติมน้ำลงไปในขวดแล้วหย่อนนักดำน้ำลงไป ส่วนบนของปากกาจะลอยปริ่มกับระดับน้ำ แล้วปิดฝาให้ แน่น แล้วบีบบริเวณกลางขวด แล้วสังเกตุการเปลี่ยนแปลง
ผลการทดลอง เมื่อบีบขวดจะทำให้นักดำน้ำจมลง และเมื่อปล่อยมือจะทำให้นักดำน้ำลอยขึ้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อวางปลอกปากกาลงไปในน้ำฟองอากาศจะเข้าไปอยู่ข้างในปลอกปากกาทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำดังนั้นนักดำน้ำจึงลอยขึ้น เมื่อเราบีบขวดพลาสติกน้ำจะถูกดันเข้าไปอัดอากาศที่อยู่ในปลอกปากกา ทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ดังนั้นนักดำน้ำจึงจม เมื่อปล่อยมือ ขวดพลาสติกจะขยายตัวออก อากาศที่อยู่ในปลอกปากกาจะขยายตัวทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ดังนั้นมันจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำอีกครั้งหนึ่ง
การนำไปใช้ การทดลองดังกล่าวใช้หลักการเช่นเดียวกับการสร้างเรือดำน้ำ
ผีผลัก
ขั้นตอนการทดลอง
1. นำกระป๋องทั้งสองมาวางบนหลอดดูดน้ำ ซึ่งวาง 1 กระป๋องต่อ 3 หลอด ซึ่งวางห่างกัน เล็กน้อย
2. เป่าลมให้ผ่านระหว่างกระป๋องทั้งสอง
ผลการทดลอง กระป๋องทั้งสองจะเคลื่อนที่เข้าหากัน แทนที่จะเคลื่อนที่ออกจากกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อากาศที่มีความดันต่ำระหว่างกระป๋องทั้งสอง จะถูกอากาศที่มีความดันสูงที่อยู่ภายนอกดันให้กระป๋องทั้งสองเคลื่อนที่เข้าหากัน เนื่องจากอากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความดันสูงไปสู่บริเวณที่มีความดันต่ำ
การนำไปใช้ ใช้ในการป้องกันตัวเองในกรณีที่ยืนอยู่ที่ชานชะลา หรือหน้าผา จะได้ไม่เข้าไปยืนใกล้รางรถไฟมากเกินไปขณะที่มีรถไฟวิ่งผ่าน หรือ ยืนใกล้หน้าผาสูงมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้เกิดแรงผลักให้เข้าไปหารถไฟ หรือเหว ส่งผลให้เสียชีวิตได้
ลมพัด
ขั้นตอนการทดลอง 1. พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า (3 ด้าน) วางไว้บนโต๊ะ 2. เป่าลมเข้าไปที่ใต้กระดาษนั้น
ผลการทดลอง กระดาษจะยึดติดแน่นอยู่กับโต๊ะ แทนที่จะพลิก
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเป่าลมผ่านเข้าไปในช่องกระดาษ ภายใต้ช่องกระดาษจะเกิดความดันต่ำ ซึ่งโดยธรรมชาตินั้นอากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความดันสูงไปบริเวณที่มีความดันต่ำ ทำให้อากาศที่มีความดันสูงกว่าที่อยู่บริเวณภายนอกพื้นที่สี่เหลี่ยมนั้นจะผลักกระดาษลงให้ยึดติดกับผิวโต๊ะมากขึ้น ถ้ายิ่งเป่าลมแรงเท่าไหร่ กระดาษก็จะยิ่งมีแรงยึดติดกับโต๊ะมากเท่านั้น
การนำไปใช้ ใช้ในการช่วยป้องกันในกรณีที่มีพายุผ่านเข้ามา ถ้าบ้านเปิดประตูหน้าเอาไว้แต่ประตูหลังปิด ทำให้ลมจากพายุนั้นไม่สามารถที่จะผ่านไปได้ ทำให้ภายในบ้านมีความดันอากาศสูงมาก ๆ ก็ส่งผลให้หลังคาสามารถเปิดออกได้ สามารถแก้ไขได้โดยเมื่อมีลมพายุผ่านเข้ามาให้เปิดทั้งประตูหน้าและประตูหลัง ทำให้ลมสามารถผ่านไปได้ ความดันจากภายนอกจะผลักทำให้บ้านสามารถยึดติดกับพื้นได้มากขึ้น
โทรศัพท์วิทยุ
วิธีการทดลอง1. นำแก้วนำมาเจาะรูที่ก้นแก้วหนึ่งรู
2. สอดด้ายยาวประมาณ 2-3 เมตร เข้าไปที่ก้นของแก้วน้ำ
3. ผูกด้ายที่ตรงกลางของไม้จิ้มฟันทั้ง 2 อัน ให้เชื่อมกันโดยให้ไม้จิ้มฟันอยู่ในแก้ว
4. ให้ฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายหนึ่งฟัง
5. ให้ฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายหนึ่งฟัง แต่มีการจับเชือก
ผลการทดลอง ผู้ฟังสามารถฟังเสียงอีกฝ่ายหนึ่งพูดได้ ถ้าหากไม่มีการจับเชือก ถ้าเราจับเชือกทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถได้ยินเสียงนั้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เสียงจะเดินทางได้ต้องอาศัยตัวกลางซึ่งปกติการที่มนุษย์สื่อสารกันธรรมดาอากาศที่อยู่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารนั้นจะเปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง แต่ สำหรับการทดลองเมื่อเราพูดในกระบอกแก้ว จะเปรียบเสมือนเป็นอากาศปิด เพราะฉะนั้นเสียงจึงต้องใช้ตัวกลาง ในที่นี้จะใช้เส้นด้ายที่อยู่ระหว่างเส้นด้ายทั้ง2 จึงทำให้ได้ยิน แต่ถ้าเมื่อเราไปรบกวนตัวกลาง โดยเอามือจับไว้ เป็นผลให้เราไม่ได้ยินเสียง
การนำไปใช้ การสื่อสารทั่วไปโดยใช้โทรศัพท์ซึ่งโทรศัพท์นี้อาศัยคลื่นไฟฟ้าแทนตัวกลางอากาศ
คานกระดาษ
อุปกรณ์ แก้วน้ำ 3 ใบ กระดาษ A4 1 แผ่น
วิธีทำการทดลอง 1. นำแก้ว 2 แก้ว มาวางห่างกันมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของแก้ว
2. นำกระดาษ A4 มาวางไว้บนแก้วทั้ง 2 ใบ
3. นำแก้วอีก 1 ใบ มาวางบนกระดาษ
ผลการทดลอง ถ้าวางแก้วน้ำบนกระดาษ a4 แผ่นเรียบ กระดาษจะรับน้ำหนักของแก้วน้ำไม่ไช้ทำให้แก้วน้ำตกลงมาก แต่ถ้าพันกระดาษสลับไปมาเป็นฟันปลาแล้ววางแก้วน้ำลงบนกระดาษที่ผับเปลา แก้วน้ำสามารถที่จะวางบนกระดาษได้โดยไม่ตกลงมา
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากแผ่นกระดาษเรียบจะรับน้ำหนักของแก้วน้ำเพียงจุดเดียว ส่วนกระดาษที่พับเป็นฟันปลา กระดาษจะกระจายน้ำหนักของแก้วน้ำ ตามขาของแก้วน้ำ ตามขอของด้านฟันปลา
การนำไปใช้ กระดาษเปรียบเสมือนคาน ถ้าคานไม่มีกระจายน้ำหนักคานตามบ่นเรือนต่างๆ ก็จะไม่สามารถรับน้ำหนักจำนวนมากได้
วางเหรียญลงบนแก้ว
อุปกรณ์ โถ ใบใหญ่ 1 ใบ แก้ว1 ใบ เหรียญ น้ำ
วิธีการทดลอง 1. นำน้ำใส่โถเจนต์
2. นำเหรียญใส่ลงไปในโถที่บรรจุน้ำ ให้ลงแก้ว
ผลการทดลอง เหรียญจะยากแก่การตกใส่ลงไปในแก้วเห็น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น1. เนื่องจากเกิดจากแตกต่างของดัชนีหักเหระหว่างอากาศกับน้ำ
2. พื้นที่ตักของเหรียญมีผลต่อแรงดันของน้ำ จึงเกิดการส่ายของเหรียญระหว่างการเดินทางผ่านน้ำ
การนำไปใช้
การจับปลาโดยใช้ฉนวนซึ่งเมื่อเราเห็นปลาอยู่ใต้นั้นเราไม่ส่มารถเชื่อได้ว่าปายที่อยู่ที่ตัวแหน่งนั้นจริงๆ
ไฟฟ้าสถิตยกของ
วิธีการทดลอง 1. พันสายไฟที่มีฉนวนหุ้มรอบตะปูให้แน่นประมาณ 30 รอบ แล้วใช้กรรไกรปอกพลาสติกที่หุ้มสายไฟทั้ง สองข้างออกประมาณ 2 cm.
2. นำปลายทั้ง 2 ข้าง ต่อที่สวิตช์แล้วนำไปต่อที่รางถ่าน
3. เปิดสวิตช์นำไปทดสอบกับลวดเสียบกระดาษ
4. ปิดสวิตช์นำไปทดสอบกับขดลวด
ผลการทดลอง ถ้าตะปูตัวนี้ทำจากเหล็กบริสุทธิ์ ลวดเสียบกระดาษจะค่อยๆหลุดออกมา แต่ถ้าตะปูเป็นเหล็กกล้าจะกลายเป็นแม่เหล็กถาวร
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ถ้าเราปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปรอบแท่งเหล็ก จะทำให้แท่งเหล็กกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว เรียกว่า แม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าหยุดไหล แม่เหล็กไฟฟ้าก็จะหยุดทำงาน นี้เป็นแนวทางในการทำแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเปิดและปิดได้
การนำไปใช้ รถไฟฟ้า “แมกเลฟ” (Maglev) ในประเทศญี่ปุ่น จะแล่นได้โดยใช้กำลังจากแม่เหล็กไฟฟ้า แม่เหล็กที่ติดไว้ที่ฐานและที่วางรถไฟ จะทำให้รถไฟแล่นอยู่เหนือรางรถไฟฟ้าได้ ส่วนแม่เหล็กที่ติดไว้ด้านข้างของรถไฟและที่รางรถไฟ จะทำให้จะถูกควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ เมื่อด้านหน้าของรถไฟถูกดึง และส่วนท้ายถูกผลักจึงทำให้เมื่อต่อไปครบวงจรพร้อมเปิดสวิทช์จะทำให้ตะปูดูดกับลวดเสียบกระดาษและเมื่อปิดสวิทช์แล้วตะปูจะไม่ดูดกับลวดเสียบกระดาษ
เครื่องทุ่นแรง
อุปกรณ์ กระบอกฉีดยาขนาดเล็ก 1 อัน กระบอกฉีดยาขนาดใหญ่ 1 อัน วัตถุหนัก
วิธีทำการทดลอง 1. นำวัตถุมาวางบนเครื่องไฮโดรลิกจำลอง ทางด้านกระบอกฉีดยาขนาดใหญ่
2. ใช้นิ้วกดลงที่เครื่องไฮโดรลิกทางด้านกระบอกฉีดยาขนาดเล็กผลการทดลอง วัตถุหนักจะสามารถยกขึ้นได้ โดยการใช้แรงเพียงเล็กน้อย
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เปรียบเสมือนท่อ 2 ท่อ มีความดันเท่ากัน เมื่อออกแรงกดที่ท่อเล็กเพียงเบาๆ ท่อใหญ่ที่มีของน้ำหนักมากก็สามารถยกขึ้นได้
การนำไปใช้ เครื่องมือที่อาศัยหลักการเดียวกับเครื่องอัดไฮโดรลิกนี้ได้แก่ แม่แรงยกรถ เก้าอี้ทำฟัน ระบบห้ามล้อรถยนต์ เป็นต้น
ทักษะการสร้างแบบจำลอง
Youtube
Play List Youtube
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม
ว20201 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน
1.0 หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและวิเคราะห์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะการวัด ทักษะการใช้ตัวเลข ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการพยากรณ์
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
ใช้ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการใช้ตัวเลข
ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการพยากรณ์
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
ในการสืบเสาะหาความรู้
มีจิตวิทยาศาสตร์ คือ มีความสนใจใฝ่รู้ มีเหตุผล
มีความซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด อดทน
รอบครอบ
รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.
อธิบายการสังเกตเชิงคุณภาพและการสังเกตเชิงปริมาณของวัตถุ
สสาร หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้
ประสาทสัมผัสอย่างน้อย 4 อย่าง
2.
บอกข้อมูลการสังเกตเชิงคุณภาพและการสังเกตเชิงปริมาณได้
3.
บอกคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่ใช้ในการจำแนกประเภทวัตถุสิ่งของต่าง
ๆ และแสดงวิธีการจำแนกประเภทวัตถุเหล่านั้น
โดยอาศัยเกณฑ์จากคุณสมบัติที่บอกได้
4.
แสดงการจำแนกประเภทวัตถุที่กำหนดให้แบบหลาย ๆ ขั้น พร้อมทั้งบอกเกณฑ์ในการจำแนกประเภทในแต่ละชั้นได้
5. บอกเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทวัตถุที่กำหนดให้ได้
6. บรรยายวัตถุหรือเหตุการณ์ด้วยรายละเอียดอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้อื่นสามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นวัตถุหรือเป็นเหตุการณ์อะไรได้
7. วาดแผนผังเพื่อแสดงระยะทาง ตำแหน่งที่ตั้ง และขนาดของวัตถุได้อย่างถูกต้อง
และทำให้ผู้อื่นสามารถบอกตำแหน่งสถานที่โดยใช้แผนผังดังกล่าวได้
8. เลือกหน่วยที่เหมาสมในการวัดวัตถุที่กำหนดให้ได้
9. วัดอุณหภูมิ
ความยาว ปริมาตร มวล และแรงของวัตถุที่กำหนดให้ได้
10. บอกความแตกต่างระหว่างการสังเกต
การลงความเห็น และการพยากรณ์ได้
11. พยากรณ์โดยอาศัยพยาน หลักฐานที่ได้จากการสังเกตได้
เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
K : P : A = 70 : 20 : 10
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ซื่อสัตย์ สุจริต 2. มีวินัย
3. ใฝ่เรียนรู้ 4. มุ่งมั่นในการทำงาน
5. มีจิตสาธารณะ
ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะการวัด
ปริมาณ
|
ระบบ SI
|
ระบบเมตริก
|
||
ชื่อเต็ม
|
สัญลักษณ์
|
ชื่อเต็ม
|
สัญลักษณ์
|
|
มวล
|
กิโลกรัม
|
kg
|
กรัม
|
g
|
ความยาว
|
เมตร
|
m
|
เซนติเมตร
|
cm
|
พื้นที่
|
ตารางเมตร
|
m2
|
ตารางเซนติเมตร
|
cm2
|
ปริมาตร
|
ลูกบาศก์เมตร
|
m3
|
ลูกบาศก์เซนติเมตร
|
cm3
|
ความหนาแน่น
|
กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
|
kg/m3
|
กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
|
g/cm3
|
อุณหภูมิ
|
เคลวิน
|
K
|
เซลเซียส
|
oc
|
เวลา
|
วินาที
|
s
|
วินาที
|
s
|