วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การตั้งสมมติฐาน

การตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การกำหนดข้อความที่คาดคะเนคำตอบของปัญหา/เรื่องที่สนใจไว้ก่อนทำ   

         การศึกษา  ซึ่งการคาดคะเนคำตอบนั้นมุ่งหวังให้คำตอบหรือผลที่ได้จากการศึกษาถูกต้องมากที่สุด  
         สมมติฐานจึงเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การพิสูจน์ค้นหาความจริงในการศึกษาค้นคว้า 
ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน

      การตั้งสมมติฐานควรแสดงถึงความสัมพันธ์ของเรื่อง(ตัวแปรตาม)ที่ต้องการศึกษา ว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลตอเรื่อง/ประเด็นที่สนใจ/สงสัย (ตัวแปรต้น) ประโยคที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองสังเกตได้ เช่น “มีผลกระทบต่อ”  “มีอิทธิพลต่อ”  “แปรผันกับ”  “มากกว่า”  “น้อยกว่า”  “มีความสัมพันธ์กับ”  และข้อความที่ใช้ตั้งสมมติฐานคือ วลี  "ถ้า.....ดังนั้น....."  หรือ “ถ้า……แล้ว…หรือ...”
- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นโรค มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- การสูบบุหรี่มี ความสัมพันธ์ ทางบวกกับการเป็นมะเร็งในปอด

- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งในปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งในปอด น้อยกว่า ผู้ที่สูบบุหรี่

- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งในปอด แตกต่างกับ ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- ถ้าราเพนนิซิลเลียมยับยั้งการเจริญของ Bact ดังนั้น Bact จะไม่เจริญเมื่อมีราเพนนิซิลเลียมขึ้นรวมอยู่ด้วย"

-"ถ้าแสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้า ดังนั้น ต้นหญ้าบริเวณที่ไม่ได้รับ
แสงแดดจะไม่เจริญหรือตายไป"

-"ถ้าแสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้า  ดังนั้น ต้นหญ้าบริเวณที่ได้รับแสงแดด

 จะเจริญงอกงาม"
- ถ้าฮอร์โมนมีผลต่อสีของปลาสวยงาม ดังนั้นปลาที่เลี้ยงโดยให้ฮอร์โมนจะมีสีเร็วกว่าปลาที่เลี้ยงโดย
ไม่ให้ฮอร์โมนในช่วงอายุเท่ากัน

- ถ้าควันบุหรี่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง คนที่สูบบุหรี่หรือคุลกคลีกับคนสูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง
 ได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่หรือไม่คลุกคลีกับคนสูบบุหรี่

- ถ้าความร้อนมีผลต่อการสุกของผลไม้ ดังนั้น ผลไม้ที่ผ่านการอบไอน้ำจะมีอายุการสุกนานกว่าผลไม้
ที่ไม่ได้ผ่านการอบไอน้ำ

- การใช้เทคโนโลยีทันสมัยมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางานทางบวก

- ค่าตอบแทนสวัสดิการมีความสัมพันธ์กับขวัญและกําลังใจในการทํางานทางบวก

- ผู้หญิงมีความสนใจน้ำหอมมากกว่าผู้ชาย

- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์ กับประสิทธิผลในการทํางาน

- ความต้องการใช้เครื่องไฟฟ้าของบุคคลในชุมชนชนบทและชุมชนเมืองแตกต่างกัน

- การใช้คอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์ กับประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางาน

- วิธีการจูงใจกับขวัญและกําลังใจในการทํางาน มีความสัมพันธ์กัน

- วิธีการจูงใจกับขวัญและกําลังใจในการทํางาน มีความสัมพันธ์กันทางบวก

            -ความคิดของผู้ประกอบการร้านอาหารของโรงเรียนมีระดับที่มากกว่าของผู้ประกอบการร้านอาหาร
          ทั่วไปความคิดเห็นของผู้ประกอบการกับของพนักงานที่มีต่อจริยธรรมของนักธุรกิจแตกต่างกัน

            - การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ทีใช้ในกิจกรรมชุมชนของชาวบ้านเกาะ(ไม่)มีความสัมพันธ์กับการมี ส่วนร่วมในงานกิจกรรมชุมชนของชาวบ้าน

            - ผู้สูงอายุทีอยู่ในเขตเมืองมีความสนใจใช้อินเตอร์เน็ตในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพระดับ
           ปานกลาง (มาก/น้อย)

            - นักเรียนกลุ่มที่อ่านการ์ตูนเรื่องโรคเอดส์กับนักเรียนที่อ่านจุลสารโรคเอดส์มีทัศนคติต่อการป้องกัน
           โรคเอดส์แตกต่างกัน(ไม่แตกต่างกัน)

            - ความถนัดทางตัวเลขกับผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ ม.ต้น มีความสัมพันธ์กัน ทางบวก

 


ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน (ต่อ)
- นักเรียนที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภานักเรียนแตกต่างกัน

- ความถนัดทางตัวเลขกับผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวก

- ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5หลังการใช้สถานการณ์จำลองก่อนและ
หลังการใช้สถานการณ์จำลองแตกต่างกัน

- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และแผนการเรียนศิลป์ภาษามีเจตคติต่อวิชา
 ภาษาไทยแตกต่างกัน

- กลิ่นใบตะไคร้กำจัดแมลงสาบได้ดีกว่ากลิ่นใบมะกรูด

- การลดน้ำหนักด้วยวิธีควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่าการควบคุมอาหารอย่างเดียว

- ถ้าความเร็วของวัตถุ มีความสัมพันธ์แบบผกผัน กับมวลของวัตถุ จริง ดังนั้นเมื่อมวลของวัตถุมากขึ้น    
ความเร็วของวัตถุจะลดลง

- ถ้าปุ๋ยชีวภาพ มีแร่ธาตุที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืช มากกว่าปุ๋ยเคมี ดังนั้นต้นถั่ว ที่ใช้
ปุ๋ยชีวภาพจะเจริญเติบโตดีกว่า ต้นถั่วที่ใช้ปุ๋ยเคมี

- สตรีที่มีอาชีพนักธุรกิจอยู่ในเขตเมืองจะมีสถิติการหย่าร้างมากกว่าสตรีที่ประกอบอาชีพอื่น

- วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัว ฐานะยากจนและรํ่ารวยจะมีปัญหาการติดยาเสพติดแตกต่างกัน

- วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะยากจน จะมีปัญหาการติดยาเสพติด มากกว่า วัยรุ่นที่มาจากครอบครัวฐานะรํ่ารวย

- วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะยากจนจะมีปัญหาการติดยาเสพติด น้อยกว่า วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะรํ่ารวย

- วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะยากจนมีพฤติกรรมก้าวร้าว มากกว่า วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะดี

- นักเรียนที่มีภูมิลําเนาต่างอำเภอและนักเรียนที่มีภูมิลําเนาอยู่ในอำเภอเมืองมีชอบดูภาพยนตร์แตกต่างกัน

- ลูกค้าของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลและห้างบิกซีขึ้นอยู่กับระดับรายได้

- ระดับรายได้ของลูกค้าห้างเซ็นทรัลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับรายได้ของลูกค้าห้างบีกซี

- ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารลดลง คนจะออมเงินน้อยลง

- ผู้ชายสนใจการเป็นนายหน้า มากกว่า ผู้หญิง

- คนจีนมีความสามารถในการค้ามากกว่าคนไทย

- พนักงานขายที่ฝึกอบรมต่างกันจะมีพฤติกรรมการขายต่างกัน

- ระดับการศึกษากับประสิทธิภาพในการทํางานมีความสัมพันธ์กันทางบวก

- สตรีที่จบการศึกษาสูงจะมีสัดส่วนของการแต่งงานน้อยกว่าสตรีที่จบการศึกษาต่ำกว่า

- ผู้สูงอายุหญิงจะมีอัตราของภาวะทุพพลภาพสูงกว่าผู้สูงอายุชาย

- เพศหญิงและเพศชายมีสัดสวนการเรียนตอในระดับปริญญาโทแตกตางกัน

- ระดับการศึกษามีความสัมพันธกับระดับรายได้

- เพศหญิงมีสัดสวนการเรียนตอในระดับปริญญาโทสูงกวาเพศชาย

- ระดับการศึกษามีความสัมพันธเชิงบวกกับรายได(ผูที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีรายไดสูงดวย)

- นักเรียนที่ทบทวนบทเรียนด้วยตัวเองเป็นประจําทุกวันจะมีคะแนนสอบสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้
ทบทวนบทเรียนด้วยตัวเองเป็นประจําทุกวัน

 

ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน (ต่อ)
- พื้นที่ที่มีแหลงเพาะพันธุยุงลายมากทําใหมีการเจ็บปวยดวยโรคไขเลือดออก

- จํานวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราความชุกของโรคไข้เลือดออก
ของประชากรในพื้นที่

- การเป็นมะเร็งกับการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กัน”

-“ผู้ชายมีความสามารถทางช่าง (เต้นรำ, ร้องเพลง, ศิลปะการเรียนวิทยาศาสตร์ ฯลฯ) สูงกว่าผู้หญิง”

- ความสามารถในการพูดภาษาไทยของเด็กชายและเด็กหญิง แตกต่างกัน”

- ปุ๋ยอินทรี มีผลทำให้พืชเจริญเติบโตสูงกว่าปุ๋ยเคมี

- แตงโมที่ปลูกในฤดูที่แตกต่างกันจะให้ผลผลิตแตงโมที่แตกต่างกัน

- ปัจจุบันประชาชนในเมืองมีความสนใจในประเพณีสงกรานต์มากขึ้น

- ผู้ปกครองของนักเรียนในประเทศไทยมักไม่นิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ

- คนที่อยู่ในเมืองมักมีครอบครัวที่เล็กกว่าคนที่อยู่ในชนบท

- นักเรียนที่เรียนต่างอำเภอมักสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้

- การเลี้ยงดูของมารดาน่าจะมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก

- การหลบหนีเข้าเมืองของคนในประเทศเพื่อนบ้านน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาอาชญากรรมในเมือง

- ความนิยมในการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชายมีมากกว่านักเรียนหญิง

- นักเรียนที่มีบิดามารดามีความคาดหวังในตัวบุตรสูงน่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มี บิดามารดามีความคาดหวังในตัวบุตรสูง

- ความนิยมในการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงน่าจะมีความแตกต่างกัน

- ความคาดหวังของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบุตร

-นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรม
ความเป็นผู้นำแตกต่างกัน

- ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันจะมีความสามารถในการสอนแตกต่างกัน

- เพศชายและเพศหญิงมีความสนใจด้านการเมืองไม่แตกต่างกัน

-เปลือกของกล้วยต่างชนิดกัน มีผลต่อการดับกลิ่นขยะได้ต่างกัน

- การเลือกแผนการเรียนของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับค่านิยมในอาชีพ

- ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวมีผลต่อการต่อต้านหรือยอมรับการทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

- การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคยารักษาโรคบางประเภท

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

จรวดขวดน้ำ

กิจกรรมจรวดขวดน้ำ
กิจกรรมจรวดขวดน้ำ
ระดับชั้นเรียน    มัธยมศึกษาตอนต้น        เวลา              1 - 2 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์
1.       นักเรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทำงานของจรวดและฝึกทักษะการสร้างแบบจำลอง
2.       นักเรียนสามารถอธิบายการปล่อยจรวดได้ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา
3.       นักเรียนเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน
หลักการ
          จรวดขวดน้ำออกแบบมาภายใต้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กล่าวคือ จรวดเคลื่อนที่สู่ท้องฟ้าด้วยกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา  เมื่อเราใส่น้ำเข้าไปในจรวดและอัดอากาศเข้าไป น้ำจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับออกมา การลมเข้าไปทำให้ความดันภายในลำตัวจรวดสูงขึ้น เมื่อดึงสลักออก แรงดันอากาศภายในจะดันให้น้ำพุ่งออกมา ทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาดันให้จรวดพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อจรวดถูกปล่อยขึ้นไปแล้ว แรงดันอากาศมิได้หายไปทันที แต่จะลดลงเรื่อยๆ   เนื่องจากปริมาณน้ำที่อยู่ในจรวดจะช่วยชะลอให้แรงดันค่อยๆ  ลดลง
อุปกรณ์ในการสร้างจรวด:
1.       ขวดน้ำอัดลมแบบพลาสติก 2 ขวด
2.       กรรไกร หรือ คัตเตอร์
3.       กระดาษแข็งสี
4.       เทปกาว
5.       ส่วนหัวจรวด
6.       ดินน้ำมัน
7.       ฐานยิงจรวดสำเร็จรูป
8.       ที่สูบลมจักรยาน
วิธีการสร้างจรวด
1.       ตัดขวดที่สองนำขวดมาต่อกันโดยเอาหันด้านก้นขวดเข้าหากันยึดให้แน่นโดยเทปกาว
2.       ตัดกระดาษแข็งตามที่ต้องการ  ทำเป็นรูปปีกจรวดแล้วยึดเข้ากับตัวขวด
3.       ตกแต่งตัวจรวดให้สวยงามตามความพอใจ
การดำเนินกิจกรรม
1.       แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม   กลุ่มละ 3 คนเท่าๆ กันตามความเหมาะสม แจกอุปกรณ์ และคำแนะนำวิธีการสร้างจรวด
2.       คุณครูอธิบายหลักการของจรวดขวดน้ำ  และกติกาในการแข่งขัน
3.       ในกลุ่มช่วยกันสร้างลำตัวจรวดโดยใช้ขวดน้ำพลาสติก และออกแบบครีบบังคับทิศทางซึ่งจะทำให้จรวดพุ่งขึ้นได้ตรง พร้อมทั้งตกแต่งลำตัวจรวดตามจินตนาการ
4.       ทดลองยิงจรวด และช่วยกันค้นหาอัตราส่วนของน้ำที่ใช้ว่ามีผลกับการเคลื่อนที่ของจรวดอย่างไร และอัตราส่วนเท่าใดที่จะทำให้จรวดพุ่งขึ้นได้สูงที่สุด จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกันว่าสามารถออกแบบให้จรวดพุ่งขึ้นได้สูงที่สุด
สรุปการทำกิจกรรม:
          หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้และสนุกกับการประดิษฐ์และยิงจรวดขวดน้ำกันแล้ว  ให้นักเรียนร่วมกันอธิบายถึงหลักการของจรวด และอัตราส่วนผสมที่ทำให้เกิดแรงดันให้จรวดไปไกลมากที่สุด ช่วยกันคิดว่าอัตราส่วนแบบใดเหมาะสมที่สุดเพราะเหตุใด

กฎข้อที่ 3 นิวตัน
         “ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงข้ามเสมอ” หรือ “แรงกระทำซึ่งกันและกันของวัตถุทั้งสอง ย่อมมีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้าม”
                แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา
               กฎข้อนี้แสดงให้เห็นว่าแรงทุกแรงจะเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เมื่อวัตถุ A ส่งแรงกระทำต่อวัตถุ B วัตถุ B ก็จะส่งแรงที่เท่ากันตอบกลับมาในทิศทางที่ตรงข้าม
ตัวอย่าง   เช่นผู้ที่กำลังเล่นสเกตเลื่อน ออกแรงผลักผู้เล่นคนอื่น ทั้งคู่ก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกัน






กำหนดค่ามุมยิงจรวด


จรวดขวดน้ำ : Kid Rangers ปฏิบัติการเด็กช่างคิด


แข่งขันจรวดขวดน้ำ


ภาพประกอบกิจกรรมจรวดขวดน้ำ







เพิ่มเติมภาพ : https://photos.app.goo.gl/cbTzo8Jk6MwDE4Gx8
และกลุ่มทักษะทางวิทยาศาสตร์ https://www.facebook.com/groups/1914277122218962/

จัดทำโดย  นายวีระชัย  จันทร์สุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นักดำน้ำในขวด

การทดลองเรื่อง นักดำน้ำในขวด
อุปกรณ์
ปลอกปากกาที่มีที่หนีบ ดินน้ำมัน คลิปหนีบกระดาษ ขวดพลาสติกใสใบใหญ่พร้อมฝาปิด
วิธีการทดลอง 1. นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปนักประดาน้ำให้มีลำตัวยาว 3.5 cm แล้วติดคลิปหนีบกระดาษที่ด้านหัวแล้ว แขวนไว้กับปลอกปากกา โดยนักดำน้ำจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมพอที่จะผ่านคอขวดลงไปได้
2. เติมน้ำลงไปในขวดแล้วหย่อนนักดำน้ำลงไป ส่วนบนของปากกาจะลอยปริ่มกับระดับน้ำ แล้วปิดฝาให้ แน่น แล้วบีบบริเวณกลางขวด แล้วสังเกตุการเปลี่ยนแปลง
ผลการทดลอง เมื่อบีบขวดจะทำให้นักดำน้ำจมลง และเมื่อปล่อยมือจะทำให้นักดำน้ำลอยขึ้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อวางปลอกปากกาลงไปในน้ำฟองอากาศจะเข้าไปอยู่ข้างในปลอกปากกาทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำดังนั้นนักดำน้ำจึงลอยขึ้น เมื่อเราบีบขวดพลาสติกน้ำจะถูกดันเข้าไปอัดอากาศที่อยู่ในปลอกปากกา ทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ดังนั้นนักดำน้ำจึงจม เมื่อปล่อยมือ ขวดพลาสติกจะขยายตัวออก อากาศที่อยู่ในปลอกปากกาจะขยายตัวทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ดังนั้นมันจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำอีกครั้งหนึ่ง
การนำไปใช้ การทดลองดังกล่าวใช้หลักการเช่นเดียวกับการสร้างเรือดำน้ำ

ผีผลัก

การทดลองเรื่อง ผีผลัก
อุปกรณ์ หลอดดูดน้ำ 6 หลอด กระป๋องเปล่า 2 กระป๋อง
ขั้นตอนการทดลอง
1. นำกระป๋องทั้งสองมาวางบนหลอดดูดน้ำ ซึ่งวาง 1 กระป๋องต่อ 3 หลอด ซึ่งวางห่างกัน เล็กน้อย
2. เป่าลมให้ผ่านระหว่างกระป๋องทั้งสอง
ผลการทดลอง กระป๋องทั้งสองจะเคลื่อนที่เข้าหากัน แทนที่จะเคลื่อนที่ออกจากกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อากาศที่มีความดันต่ำระหว่างกระป๋องทั้งสอง จะถูกอากาศที่มีความดันสูงที่อยู่ภายนอกดันให้กระป๋องทั้งสองเคลื่อนที่เข้าหากัน เนื่องจากอากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความดันสูงไปสู่บริเวณที่มีความดันต่ำ
การนำไปใช้ ใช้ในการป้องกันตัวเองในกรณีที่ยืนอยู่ที่ชานชะลา หรือหน้าผา จะได้ไม่เข้าไปยืนใกล้รางรถไฟมากเกินไปขณะที่มีรถไฟวิ่งผ่าน หรือ ยืนใกล้หน้าผาสูงมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้เกิดแรงผลักให้เข้าไปหารถไฟ หรือเหว ส่งผลให้เสียชีวิตได้

ลมพัด

การทดลองเรื่อง ลมพัด
อุปกรณ์ กระดาษ ลม
ขั้นตอนการทดลอง 1. พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า (3 ด้าน) วางไว้บนโต๊ะ 2. เป่าลมเข้าไปที่ใต้กระดาษนั้น
ผลการทดลอง กระดาษจะยึดติดแน่นอยู่กับโต๊ะ แทนที่จะพลิก
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเป่าลมผ่านเข้าไปในช่องกระดาษ ภายใต้ช่องกระดาษจะเกิดความดันต่ำ ซึ่งโดยธรรมชาตินั้นอากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความดันสูงไปบริเวณที่มีความดันต่ำ ทำให้อากาศที่มีความดันสูงกว่าที่อยู่บริเวณภายนอกพื้นที่สี่เหลี่ยมนั้นจะผลักกระดาษลงให้ยึดติดกับผิวโต๊ะมากขึ้น ถ้ายิ่งเป่าลมแรงเท่าไหร่ กระดาษก็จะยิ่งมีแรงยึดติดกับโต๊ะมากเท่านั้น
การนำไปใช้ ใช้ในการช่วยป้องกันในกรณีที่มีพายุผ่านเข้ามา ถ้าบ้านเปิดประตูหน้าเอาไว้แต่ประตูหลังปิด ทำให้ลมจากพายุนั้นไม่สามารถที่จะผ่านไปได้ ทำให้ภายในบ้านมีความดันอากาศสูงมาก ๆ ก็ส่งผลให้หลังคาสามารถเปิดออกได้ สามารถแก้ไขได้โดยเมื่อมีลมพายุผ่านเข้ามาให้เปิดทั้งประตูหน้าและประตูหลัง ทำให้ลมสามารถผ่านไปได้ ความดันจากภายนอกจะผลักทำให้บ้านสามารถยึดติดกับพื้นได้มากขึ้น

โทรศัพท์วิทยุ

การทดลองเรื่อง โทรศัพท์วิทยุอุปกรณ์ แก้วน้ำพลาสติก 2 ใบ เส้นด้าย เข็ม กรรไกร ไม้จิ้มฟัน 2 อัน
วิธีการทดลอง
1. นำแก้วนำมาเจาะรูที่ก้นแก้วหนึ่งรู
2. สอดด้ายยาวประมาณ 2-3 เมตร เข้าไปที่ก้นของแก้วน้ำ
3. ผูกด้ายที่ตรงกลางของไม้จิ้มฟันทั้ง 2 อัน ให้เชื่อมกันโดยให้ไม้จิ้มฟันอยู่ในแก้ว
4. ให้ฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายหนึ่งฟัง
5. ให้ฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายหนึ่งฟัง แต่มีการจับเชือก

ผลการทดลอง 
ผู้ฟังสามารถฟังเสียงอีกฝ่ายหนึ่งพูดได้ ถ้าหากไม่มีการจับเชือก ถ้าเราจับเชือกทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถได้ยินเสียงนั้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 
เสียงจะเดินทางได้ต้องอาศัยตัวกลางซึ่งปกติการที่มนุษย์สื่อสารกันธรรมดาอากาศที่อยู่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารนั้นจะเปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง แต่ สำหรับการทดลองเมื่อเราพูดในกระบอกแก้ว จะเปรียบเสมือนเป็นอากาศปิด เพราะฉะนั้นเสียงจึงต้องใช้ตัวกลาง ในที่นี้จะใช้เส้นด้ายที่อยู่ระหว่างเส้นด้ายทั้ง2 จึงทำให้ได้ยิน แต่ถ้าเมื่อเราไปรบกวนตัวกลาง โดยเอามือจับไว้ เป็นผลให้เราไม่ได้ยินเสียง
การนำไปใช้ 
การสื่อสารทั่วไปโดยใช้โทรศัพท์ซึ่งโทรศัพท์นี้อาศัยคลื่นไฟฟ้าแทนตัวกลางอากาศ

คานกระดาษ

การทดลองเรื่อง คานกระดาษ
อุปกรณ์
 แก้วน้ำ 3 ใบ กระดาษ A4 1 แผ่น
วิธีทำการทดลอง 
1. นำแก้ว 2 แก้ว มาวางห่างกันมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของแก้ว
2. นำกระดาษ A4 มาวางไว้บนแก้วทั้ง 2 ใบ
3. นำแก้วอีก 1 ใบ มาวางบนกระดาษ

ผลการทดลอง 
ถ้าวางแก้วน้ำบนกระดาษ a4 แผ่นเรียบ กระดาษจะรับน้ำหนักของแก้วน้ำไม่ไช้ทำให้แก้วน้ำตกลงมาก แต่ถ้าพันกระดาษสลับไปมาเป็นฟันปลาแล้ววางแก้วน้ำลงบนกระดาษที่ผับเปลา แก้วน้ำสามารถที่จะวางบนกระดาษได้โดยไม่ตกลงมา
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 
เนื่องจากแผ่นกระดาษเรียบจะรับน้ำหนักของแก้วน้ำเพียงจุดเดียว ส่วนกระดาษที่พับเป็นฟันปลา กระดาษจะกระจายน้ำหนักของแก้วน้ำ ตามขาของแก้วน้ำ ตามขอของด้านฟันปลา
การนำไปใช้ 
กระดาษเปรียบเสมือนคาน ถ้าคานไม่มีกระจายน้ำหนักคานตามบ่นเรือนต่างๆ ก็จะไม่สามารถรับน้ำหนักจำนวนมากได้

วางเหรียญลงบนแก้ว

การทดลองเรื่อง วางเหรียญลงบนแก้ว
อุปกรณ์ 
โถ ใบใหญ่ 1 ใบ แก้ว1 ใบ เหรียญ น้ำ
วิธีการทดลอง 
1. นำน้ำใส่โถเจนต์
2. นำเหรียญใส่ลงไปในโถที่บรรจุน้ำ ให้ลงแก้ว

ผลการทดลอง 
เหรียญจะยากแก่การตกใส่ลงไปในแก้วเห็น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
1. เนื่องจากเกิดจากแตกต่างของดัชนีหักเหระหว่างอากาศกับน้ำ
2. พื้นที่ตักของเหรียญมีผลต่อแรงดันของน้ำ จึงเกิดการส่ายของเหรียญระหว่างการเดินทางผ่านน้ำ

การนำไปใช้

การจับปลาโดยใช้ฉนวนซึ่งเมื่อเราเห็นปลาอยู่ใต้นั้นเราไม่ส่มารถเชื่อได้ว่าปายที่อยู่ที่ตัวแหน่งนั้นจริงๆ

ไฟฟ้าสถิตยกของ

การทดลองเรื่อง ไฟฟ้าสถิตยกของอุปกรณ์ สายไฟที่มีฉนวนหุ้ม ตะปูเหล็กขนาดใหญ่ รางถ่าน สวิตช์เปิด-ปิด ถ่านไฟฉาย 1.5 โวลต์ ลวดเสียบกระดาษ เครนยกจำลองทำจากไม้อัด
วิธีการทดลอง 1. พันสายไฟที่มีฉนวนหุ้มรอบตะปูให้แน่นประมาณ 30 รอบ แล้วใช้กรรไกรปอกพลาสติกที่หุ้มสายไฟทั้ง สองข้างออกประมาณ 2 cm.
2. นำปลายทั้ง 2 ข้าง ต่อที่สวิตช์แล้วนำไปต่อที่รางถ่าน
3. เปิดสวิตช์นำไปทดสอบกับลวดเสียบกระดาษ
4. ปิดสวิตช์นำไปทดสอบกับขดลวด
ผลการทดลอง ถ้าตะปูตัวนี้ทำจากเหล็กบริสุทธิ์ ลวดเสียบกระดาษจะค่อยๆหลุดออกมา แต่ถ้าตะปูเป็นเหล็กกล้าจะกลายเป็นแม่เหล็กถาวร
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ถ้าเราปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปรอบแท่งเหล็ก จะทำให้แท่งเหล็กกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว เรียกว่า แม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าหยุดไหล แม่เหล็กไฟฟ้าก็จะหยุดทำงาน นี้เป็นแนวทางในการทำแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเปิดและปิดได้
การนำไปใช้ รถไฟฟ้า “แมกเลฟ” (Maglev) ในประเทศญี่ปุ่น จะแล่นได้โดยใช้กำลังจากแม่เหล็กไฟฟ้า แม่เหล็กที่ติดไว้ที่ฐานและที่วางรถไฟ จะทำให้รถไฟแล่นอยู่เหนือรางรถไฟฟ้าได้ ส่วนแม่เหล็กที่ติดไว้ด้านข้างของรถไฟและที่รางรถไฟ จะทำให้จะถูกควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ เมื่อด้านหน้าของรถไฟถูกดึง และส่วนท้ายถูกผลักจึงทำให้เมื่อต่อไปครบวงจรพร้อมเปิดสวิทช์จะทำให้ตะปูดูดกับลวดเสียบกระดาษและเมื่อปิดสวิทช์แล้วตะปูจะไม่ดูดกับลวดเสียบกระดาษ

เครื่องทุ่นแรง

การทดลองเรื่อง เครื่องทุ่นแรง
อุปกรณ์ 
กระบอกฉีดยาขนาดเล็ก 1 อัน กระบอกฉีดยาขนาดใหญ่ 1 อัน วัตถุหนัก
วิธีทำการทดลอง 
1. นำวัตถุมาวางบนเครื่องไฮโดรลิกจำลอง ทางด้านกระบอกฉีดยาขนาดใหญ่
2. ใช้นิ้วกดลงที่เครื่องไฮโดรลิกทางด้านกระบอกฉีดยาขนาดเล็ก
ผลการทดลอง วัตถุหนักจะสามารถยกขึ้นได้ โดยการใช้แรงเพียงเล็กน้อย
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เปรียบเสมือนท่อ 2 ท่อ มีความดันเท่ากัน เมื่อออกแรงกดที่ท่อเล็กเพียงเบาๆ ท่อใหญ่ที่มีของน้ำหนักมากก็สามารถยกขึ้นได้

การนำไปใช้ 
เครื่องมือที่อาศัยหลักการเดียวกับเครื่องอัดไฮโดรลิกนี้ได้แก่ แม่แรงยกรถ เก้าอี้ทำฟัน ระบบห้ามล้อรถยนต์ เป็นต้น

ทักษะการสร้างแบบจำลอง

14. ทักษะการสร้างแบบจำลอง
(Construct Model)
******************
ภาพแบบจำลองกระบวนการเกิดหินแปร

      การนำเสนอข้อมูลแนวคิด ความคิดรวบยอดเพื่อให้ผู้อื่น เข้าใจในรูปแบบจำลอง ต่างๆ
เช่น กราฟ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วัสดุ สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ หุ่นยนต์เป็นต้น (สสวท.)

      นำเสนอแนวคิดหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของแผนภาพ ชิ้นงาน สมการณ์ ข้อความ
คำพูด และ/หรือ
แบบจำลองเพื่ออธิบายความคิดหรือวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ (สสวท.)

     แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ (scientific modeling) คือการสร้างของสิ่งหนึ่งเพื่อแทน
วัตถุ กระบวนการ 
ความสัมพันธ์ หรือ สถานการณ์ เช่น การสร้างแบบจำลองของโครงสร้างหลังคา
เพื่อให้วิศวกร สามารถคำนวณต่างๆได้ ก่อนที่จะสร้างจริง ไม่ว่าจะเป็น แบบจำลองคณิตศาสตร์
แบบจำลองแบบไม่เป็นคณิตศาสตร์ เช่น แบบจำลองการทดสอบเชิงจิตวิทยา
แบบจำลองที่เป็นรูปธรรมหรือจับต้องได้ แบบจำลองที่ใช้แผนภาพ เช่น แบบจำลองการเพิ่ม
ของจำนวนกระต่าย
หรือ แบบจำลองสามมิติ (จาก Wikipedia )

       แบบจำลองกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ (Models and science education)
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ที่มีแบบจำลองเป็นฐาน บทความเริ่มต้นด้วยการนำเสนอนิยาม ลักษณะสำคัญ
และประเภทของแบบจำลอง จากนั้น บทความนำเสนอว่า
นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร
ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร
และครูใช้แบบจำลองในการปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร บทสรุปโดยรวมเปิดเผยว่า
นักเรียนมีแนวโน้มที่จะมี “มุมมองด้านการเรียน” ในขณะที่ครูมี “มุมมองด้านการสอน”
โดยทั้งนักเรียนและครูมักละเลย “มุมมองด้านการวิจัย”  ซึ่งแบบจำลองมีบทบาทสำคัญ
ต่อการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น บทความนี้จึงเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์
ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ “จาก” “ด้วย” และ “เกี่ยวกับ” แบบจำลอง
(ลฎาภา ลดาชาติ Ladapa Ladachart คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
(Faculty of Education, Chiang Mai University)
ABSTRACT)

         แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้หนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น เพื่ออธิบาย
และทำนายปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติ เป้าหมายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของหลายประเทศ
จึงมุ่งเน้นให้นักเรียนเข้าใจ ธรรมชาติของแบบจำลอง (ความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลอง
ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์, ชาตรี ฝ่ายคำตา, พจนารถ สุวรรณรุจิ บทคัดย่อ)


ภาพแบบจำลองสมบัติของของเหลว


ตัวอย่างแบบจำลอง
แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ การสร้างของสิ่งหนึ่งเพื่อแทน วัตถุ กระบวนการ ความสัมพันธ์
หรือ สถานการณ์
แบบจำลองแผนภาพ
แบบจำลองรูปภาพ
แบบจำภาพเคลื่อนไหว
สิ่งประดิษฐ์
แบบจำลองวงจรความสัมพันธ์
แบบจำลองตาราง กราฟ
แบบจำลองแผนภาพสองมิติ
แบบจำลองสิ่งของสามมิติ
แบบจำลองสถานการณ์จำลอง
แบบจำลองโครงสร้าง
แบบจำลองการทดสอบ
กราฟ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วัสดุ สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ หุ่นยนต์



แหล่งอ้างอิง

รวบรวมและจัดทำโดย.....
นายวีระชัย   จันทร์สุข

Youtube


Play List Youtube

ทักษะทางวิทยาศาสตร์

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

ว20201  ทักษะทางวิทยาศาสตร์                                        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เวลา  40 ชั่วโมง                                                                  จำนวน  1.0 หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและวิเคราะห์  ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการใช้ตัวเลข  ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการพยากรณ์ ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

 ใช้ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการจำแนกประเภท                     ทักษะการวัด ทักษะการใช้ตัวเลข  ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการพยากรณ์                       ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ในการสืบเสาะหาความรู้

            มีจิตวิทยาศาสตร์ คือ มีความสนใจใฝ่รู้  มีเหตุผล  มีความซื่อสัตย์  ขยัน  ประหยัด อดทน

รอบครอบ รักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.  อธิบายการสังเกตเชิงคุณภาพและการสังเกตเชิงปริมาณของวัตถุ สสาร หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้  ประสาทสัมผัสอย่างน้อย 4 อย่าง

2.  บอกข้อมูลการสังเกตเชิงคุณภาพและการสังเกตเชิงปริมาณได้

3.  บอกคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่ใช้ในการจำแนกประเภทวัตถุสิ่งของต่าง ๆ และแสดงวิธีการจำแนกประเภทวัตถุเหล่านั้น  โดยอาศัยเกณฑ์จากคุณสมบัติที่บอกได้

4.  แสดงการจำแนกประเภทวัตถุที่กำหนดให้แบบหลาย ๆ ขั้น พร้อมทั้งบอกเกณฑ์ในการจำแนกประเภทในแต่ละชั้นได้

5.  บอกเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทวัตถุที่กำหนดให้ได้

6.  บรรยายวัตถุหรือเหตุการณ์ด้วยรายละเอียดอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้อื่นสามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นวัตถุหรือเป็นเหตุการณ์อะไรได้

7.  วาดแผนผังเพื่อแสดงระยะทาง ตำแหน่งที่ตั้ง  และขนาดของวัตถุได้อย่างถูกต้อง  และทำให้ผู้อื่นสามารถบอกตำแหน่งสถานที่โดยใช้แผนผังดังกล่าวได้

8.  เลือกหน่วยที่เหมาสมในการวัดวัตถุที่กำหนดให้ได้

9.  วัดอุณหภูมิ  ความยาว  ปริมาตร  มวล และแรงของวัตถุที่กำหนดให้ได้

10.  บอกความแตกต่างระหว่างการสังเกต การลงความเห็น  และการพยากรณ์ได้

11.  พยากรณ์โดยอาศัยพยาน  หลักฐานที่ได้จากการสังเกตได้

เกณฑ์การวัดผลประเมินผล

     K : P : A = 70 : 20 : 10

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

     1. ซื่อสัตย์  สุจริต         2. มีวินัย

     3. ใฝ่เรียนรู้      4. มุ่งมั่นในการทำงาน

     5. มีจิตสาธารณะ


ทักษะการตีความหมายข้อมูล

ทักษะการทดลอง

ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

ทักษะการตั้งสมมติฐาน

ทักษะการพยากรณ์

ทักษะการลงความเห็นข้อมูล

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส


ทักษะการจัดกระทำข้อมูลและสื่อความหมาย

ทักษะการจำแนกประเภท

4. การจำแนกประเภท 
เป็นกระบวนการที่ใช้จัดจำพวกวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ             ที่ต้องการศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ โดยจัดสิ่งที่มีสมบัติบางประการรวมกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน            ในการจำแนกเป็นพวกนั้น ต้องมีเกณฑ์ในการจำแนก
เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทพิจารณาจากลักษณะความเหมือนและความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งอาจเป็นเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเองหรือมีผู้อื่นกำหนดให้     ถ้าสิ่งที่นำมาจำแนกประเภทมีลักษณะนั้นร่วมกันก็จัดให้อยู่ในพวกเดียวกัน สิ่งที่ไม่มีลักษณะดังกล่าวก็รวมกันเป็นอีกพวกหนึ่ง

การจำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นประเภท ๆ ทำให้สะดวกในการศึกษา ความรู้ที่จัดเป็นระบบและเป็นหมวดหมู่จะทำให้ศึกษาได้ง่าย เพราะนักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ศึกษาเหล่านั้น

เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภท ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต เกณฑ์ที่ใช้มักจะเป็นสี รูปร่าง ขนาด
ลักษณะผิว วัสดุที่ใช้ทำ ประโยชน์ ราคา ส่วนสิ่งที่มีชีวิตมักจะใช้เกณฑ์ที่มีลักษณะของสิ่งมีชีวิต อาหาร การสืบพันธุ์ ที่อยู่อาศัย การเคลื่อนไหว เป็นต้น

          วิธีจำแนกวัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นหมวดหมู่ เริ่มต้นด้วยการตั้งเกณฑ์อย่างหนึ่งขึ้น แล้วใช้เกณฑ์นั้นแบ่งวัตถุออกเป็นกลุ่มย่อย โดยทั่ว ๆ ไปมักจะเลือกเกณฑ์ที่ทำให้แบ่งวัตถุเหล่านั้นออกเป็นสองกลุ่มก่อน แล้วค่อย ๆ เลือกเกณฑ์อื่นแบ่งกลุ่มย่อยสองกลุ่มนั้นออกเป็นกลุ่มย่อยต่อไปอีก ตัวอย่างเช่น  การจำแนกประเภทสิ่งของชุดเดียวกันย่อมจำแนกได้หลายแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ตั้งขึ้น

          กล่าวโดยสรุปการจำแนกประเภทมีหลักการดังต่อไปนี้
          1.  ต้องมีการนิยามลักษณะของสิ่งของที่จะจัดเข้าแต่ละรายการให้ชัดเจน และเหมาะสมกับเรื่อง
          2.  แต่ละรายการต้องแยกกันเด็ดขาด กล่าวคือ สิ่งหนึ่งจะถูกจัดให้อยู่ได้ในรายการใดรายการหนึ่งเท่านั้น ไม่มีการซ้ำซ้อนหรือคาบเกี่ยวกันระหว่างรายการ
          3.  เมื่อแบ่งเป็นรายการแล้ว เราสามารถจัดของทุกสิ่งลงในรายการได้หมด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ จำนวนรายการที่มีต้องครอบคลุมขอบข่ายสิ่งที่จะจัดประเภททั้งหมด
4.  การจัดแบ่งประเภทต้องแบ่งโดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันโดยตลอด

ทักษะการคำนวณ

ทักษะการวัด

การวัด หมายถึง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการวัด อย่างเหมาะสมและใช้เครื่องมือนั้นหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว                 โดยมีหน่วยกำกับ ตลอดจนสามารถ หาค่าที่วัดได้ถูกต้องและใกล้เคียงกับความเป็นจริง


การพิจารณาในการวัด
1.      จะวัดอะไร เช่น การวัดความยาวเส้นรอบรูปของลูกบอล              
ชั่งน้ำหนักก้อนหิน วัดอุณหภูมิของน้ำ วัดระยะเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำวัดปริมาตรของของเหลวในขวด วัดขนาดของมุม วัดความชื้นของอากาศ           วัดแรงดันของไฟฟ้า ฯลฯ
2.      จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เช่น ใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูป
ของลูกบอล ใช้ตาชั่งสปริงชั่งน้ำหนักของก้อนหิน ฯลฯ
3.      เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น เช่น ทำไมจึงใช้เชือกและไม้บรรทัด
วัดเส้นรอบรูปลูกบอล จะใช้เครื่องมืออื่นได้หรือไม่ ต้องเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด
4.      จะวัดอย่างไร เช่น มีเชือกและไม้บรรทัดแล้วจะทำการวัดอย่างไร
มีวิธีการอย่างไร

ตารางแสดงการเปรียบเทียบปริมาณและหน่วยในระบบ SI และระบบเมตริก
ปริมาณ
ระบบ SI
ระบบเมตริก
ชื่อเต็ม
สัญลักษณ์
ชื่อเต็ม
สัญลักษณ์
มวล
กิโลกรัม
kg
กรัม
g
ความยาว
เมตร
m
เซนติเมตร
cm
พื้นที่
ตารางเมตร
m2
ตารางเซนติเมตร
cm2
ปริมาตร
ลูกบาศก์เมตร
m3
ลูกบาศก์เซนติเมตร
cm3
ความหนาแน่น
กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
kg/m3
กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
g/cm3
อุณหภูมิ
เคลวิน
K
เซลเซียส
oc
เวลา
วินาที
s
วินาที
s





องค์ประกอบในการวัดที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ
1. รูปร่างของสิ่งที่วัด 
2. การเลือกใช้เครื่องมือวัด
3. ความสามารถของผู้วัด
***ความคลาดเคลื่อนจากการวัดแก้ไขได้โดยการทำการวัดหลาย ๆ ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย***

เครื่องมือวัดปริมาณ
          ได้แก่ เครื่องมือวัดความยาว กว้าง สูง มวล น้ำหนัก และปริมาตร เป็นต้น
          1) เครื่องมือวัดความยาว ความกว้าง และความสูง ที่ใช้ทั่วไป คือ  ไม้เมตร  เทปวัด           ตลับเมตร ไม้บรรทัด ไม้โปรแทรกเตอร์ เป็นต้น
          2) เครื่องมือวัดมวล ที่ใช้ทั่วไป คือ ตาชั่ง 3 แขน เครื่องชั่งดิจิตอล
          3)  เครื่องมือวัดปริมาตร
                   3.1)  สารเป็นของเหลว ใช้กระบอกตวง หลอดฉีดยา
                   3.2)  สารเป็นของแข็ง สามารถวัดปริมาตรได้ ดังนี้
                   - สารเป็นของแข็งรูปทรงเรขาคณิต ใช้เครื่องมือวัด  ความสูง ความยาว ความกว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง แล้วนำค่าที่ได้ไปคำนวณหาปริมาตรของวัตถุนั้น ๆ
                    - สารเป็นของแข็งไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น ก้อนหิน โลหะต่าง ๆ ก้อนแร่ต่าง ๆ หาปริมาตรโดยการแทนที่น้ำ อุปกรณ์เพื่อหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ เช่น กระบอกตวง หลอดฉีดยา ถ้วยยูเรกา  โดยใช้ถ้วยยูเรกาและหลอดฉีดยา