วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การตั้งสมมติฐาน

การตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การกำหนดข้อความที่คาดคะเนคำตอบของปัญหา/เรื่องที่สนใจไว้ก่อนทำ   

         การศึกษา  ซึ่งการคาดคะเนคำตอบนั้นมุ่งหวังให้คำตอบหรือผลที่ได้จากการศึกษาถูกต้องมากที่สุด  
         สมมติฐานจึงเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การพิสูจน์ค้นหาความจริงในการศึกษาค้นคว้า 
ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน

      การตั้งสมมติฐานควรแสดงถึงความสัมพันธ์ของเรื่อง(ตัวแปรตาม)ที่ต้องการศึกษา ว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลตอเรื่อง/ประเด็นที่สนใจ/สงสัย (ตัวแปรต้น) ประโยคที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองสังเกตได้ เช่น “มีผลกระทบต่อ”  “มีอิทธิพลต่อ”  “แปรผันกับ”  “มากกว่า”  “น้อยกว่า”  “มีความสัมพันธ์กับ”  และข้อความที่ใช้ตั้งสมมติฐานคือ วลี  "ถ้า.....ดังนั้น....."  หรือ “ถ้า……แล้ว…หรือ...”
- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นโรค มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- การสูบบุหรี่มี ความสัมพันธ์ ทางบวกกับการเป็นมะเร็งในปอด

- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งในปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งในปอด น้อยกว่า ผู้ที่สูบบุหรี่

- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งในปอด แตกต่างกับ ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- ถ้าราเพนนิซิลเลียมยับยั้งการเจริญของ Bact ดังนั้น Bact จะไม่เจริญเมื่อมีราเพนนิซิลเลียมขึ้นรวมอยู่ด้วย"

-"ถ้าแสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้า ดังนั้น ต้นหญ้าบริเวณที่ไม่ได้รับ
แสงแดดจะไม่เจริญหรือตายไป"

-"ถ้าแสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้า  ดังนั้น ต้นหญ้าบริเวณที่ได้รับแสงแดด

 จะเจริญงอกงาม"
- ถ้าฮอร์โมนมีผลต่อสีของปลาสวยงาม ดังนั้นปลาที่เลี้ยงโดยให้ฮอร์โมนจะมีสีเร็วกว่าปลาที่เลี้ยงโดย
ไม่ให้ฮอร์โมนในช่วงอายุเท่ากัน

- ถ้าควันบุหรี่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง คนที่สูบบุหรี่หรือคุลกคลีกับคนสูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง
 ได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่หรือไม่คลุกคลีกับคนสูบบุหรี่

- ถ้าความร้อนมีผลต่อการสุกของผลไม้ ดังนั้น ผลไม้ที่ผ่านการอบไอน้ำจะมีอายุการสุกนานกว่าผลไม้
ที่ไม่ได้ผ่านการอบไอน้ำ

- การใช้เทคโนโลยีทันสมัยมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางานทางบวก

- ค่าตอบแทนสวัสดิการมีความสัมพันธ์กับขวัญและกําลังใจในการทํางานทางบวก

- ผู้หญิงมีความสนใจน้ำหอมมากกว่าผู้ชาย

- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์ กับประสิทธิผลในการทํางาน

- ความต้องการใช้เครื่องไฟฟ้าของบุคคลในชุมชนชนบทและชุมชนเมืองแตกต่างกัน

- การใช้คอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์ กับประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทํางาน

- วิธีการจูงใจกับขวัญและกําลังใจในการทํางาน มีความสัมพันธ์กัน

- วิธีการจูงใจกับขวัญและกําลังใจในการทํางาน มีความสัมพันธ์กันทางบวก

            -ความคิดของผู้ประกอบการร้านอาหารของโรงเรียนมีระดับที่มากกว่าของผู้ประกอบการร้านอาหาร
          ทั่วไปความคิดเห็นของผู้ประกอบการกับของพนักงานที่มีต่อจริยธรรมของนักธุรกิจแตกต่างกัน

            - การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ทีใช้ในกิจกรรมชุมชนของชาวบ้านเกาะ(ไม่)มีความสัมพันธ์กับการมี ส่วนร่วมในงานกิจกรรมชุมชนของชาวบ้าน

            - ผู้สูงอายุทีอยู่ในเขตเมืองมีความสนใจใช้อินเตอร์เน็ตในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพระดับ
           ปานกลาง (มาก/น้อย)

            - นักเรียนกลุ่มที่อ่านการ์ตูนเรื่องโรคเอดส์กับนักเรียนที่อ่านจุลสารโรคเอดส์มีทัศนคติต่อการป้องกัน
           โรคเอดส์แตกต่างกัน(ไม่แตกต่างกัน)

            - ความถนัดทางตัวเลขกับผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ ม.ต้น มีความสัมพันธ์กัน ทางบวก

 


ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน (ต่อ)
- นักเรียนที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภานักเรียนแตกต่างกัน

- ความถนัดทางตัวเลขกับผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวก

- ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5หลังการใช้สถานการณ์จำลองก่อนและ
หลังการใช้สถานการณ์จำลองแตกต่างกัน

- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และแผนการเรียนศิลป์ภาษามีเจตคติต่อวิชา
 ภาษาไทยแตกต่างกัน

- กลิ่นใบตะไคร้กำจัดแมลงสาบได้ดีกว่ากลิ่นใบมะกรูด

- การลดน้ำหนักด้วยวิธีควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่าการควบคุมอาหารอย่างเดียว

- ถ้าความเร็วของวัตถุ มีความสัมพันธ์แบบผกผัน กับมวลของวัตถุ จริง ดังนั้นเมื่อมวลของวัตถุมากขึ้น    
ความเร็วของวัตถุจะลดลง

- ถ้าปุ๋ยชีวภาพ มีแร่ธาตุที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืช มากกว่าปุ๋ยเคมี ดังนั้นต้นถั่ว ที่ใช้
ปุ๋ยชีวภาพจะเจริญเติบโตดีกว่า ต้นถั่วที่ใช้ปุ๋ยเคมี

- สตรีที่มีอาชีพนักธุรกิจอยู่ในเขตเมืองจะมีสถิติการหย่าร้างมากกว่าสตรีที่ประกอบอาชีพอื่น

- วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัว ฐานะยากจนและรํ่ารวยจะมีปัญหาการติดยาเสพติดแตกต่างกัน

- วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะยากจน จะมีปัญหาการติดยาเสพติด มากกว่า วัยรุ่นที่มาจากครอบครัวฐานะรํ่ารวย

- วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะยากจนจะมีปัญหาการติดยาเสพติด น้อยกว่า วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะรํ่ารวย

- วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะยากจนมีพฤติกรรมก้าวร้าว มากกว่า วัยรุ่นที่มีพื้นฐานทางครอบครัวฐานะดี

- นักเรียนที่มีภูมิลําเนาต่างอำเภอและนักเรียนที่มีภูมิลําเนาอยู่ในอำเภอเมืองมีชอบดูภาพยนตร์แตกต่างกัน

- ลูกค้าของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลและห้างบิกซีขึ้นอยู่กับระดับรายได้

- ระดับรายได้ของลูกค้าห้างเซ็นทรัลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับรายได้ของลูกค้าห้างบีกซี

- ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารลดลง คนจะออมเงินน้อยลง

- ผู้ชายสนใจการเป็นนายหน้า มากกว่า ผู้หญิง

- คนจีนมีความสามารถในการค้ามากกว่าคนไทย

- พนักงานขายที่ฝึกอบรมต่างกันจะมีพฤติกรรมการขายต่างกัน

- ระดับการศึกษากับประสิทธิภาพในการทํางานมีความสัมพันธ์กันทางบวก

- สตรีที่จบการศึกษาสูงจะมีสัดส่วนของการแต่งงานน้อยกว่าสตรีที่จบการศึกษาต่ำกว่า

- ผู้สูงอายุหญิงจะมีอัตราของภาวะทุพพลภาพสูงกว่าผู้สูงอายุชาย

- เพศหญิงและเพศชายมีสัดสวนการเรียนตอในระดับปริญญาโทแตกตางกัน

- ระดับการศึกษามีความสัมพันธกับระดับรายได้

- เพศหญิงมีสัดสวนการเรียนตอในระดับปริญญาโทสูงกวาเพศชาย

- ระดับการศึกษามีความสัมพันธเชิงบวกกับรายได(ผูที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีรายไดสูงดวย)

- นักเรียนที่ทบทวนบทเรียนด้วยตัวเองเป็นประจําทุกวันจะมีคะแนนสอบสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้
ทบทวนบทเรียนด้วยตัวเองเป็นประจําทุกวัน

 

ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน (ต่อ)
- พื้นที่ที่มีแหลงเพาะพันธุยุงลายมากทําใหมีการเจ็บปวยดวยโรคไขเลือดออก

- จํานวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราความชุกของโรคไข้เลือดออก
ของประชากรในพื้นที่

- การเป็นมะเร็งกับการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กัน”

-“ผู้ชายมีความสามารถทางช่าง (เต้นรำ, ร้องเพลง, ศิลปะการเรียนวิทยาศาสตร์ ฯลฯ) สูงกว่าผู้หญิง”

- ความสามารถในการพูดภาษาไทยของเด็กชายและเด็กหญิง แตกต่างกัน”

- ปุ๋ยอินทรี มีผลทำให้พืชเจริญเติบโตสูงกว่าปุ๋ยเคมี

- แตงโมที่ปลูกในฤดูที่แตกต่างกันจะให้ผลผลิตแตงโมที่แตกต่างกัน

- ปัจจุบันประชาชนในเมืองมีความสนใจในประเพณีสงกรานต์มากขึ้น

- ผู้ปกครองของนักเรียนในประเทศไทยมักไม่นิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ

- คนที่อยู่ในเมืองมักมีครอบครัวที่เล็กกว่าคนที่อยู่ในชนบท

- นักเรียนที่เรียนต่างอำเภอมักสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้

- การเลี้ยงดูของมารดาน่าจะมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก

- การหลบหนีเข้าเมืองของคนในประเทศเพื่อนบ้านน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาอาชญากรรมในเมือง

- ความนิยมในการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชายมีมากกว่านักเรียนหญิง

- นักเรียนที่มีบิดามารดามีความคาดหวังในตัวบุตรสูงน่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มี บิดามารดามีความคาดหวังในตัวบุตรสูง

- ความนิยมในการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงน่าจะมีความแตกต่างกัน

- ความคาดหวังของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบุตร

-นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรม
ความเป็นผู้นำแตกต่างกัน

- ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันจะมีความสามารถในการสอนแตกต่างกัน

- เพศชายและเพศหญิงมีความสนใจด้านการเมืองไม่แตกต่างกัน

-เปลือกของกล้วยต่างชนิดกัน มีผลต่อการดับกลิ่นขยะได้ต่างกัน

- การเลือกแผนการเรียนของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับค่านิยมในอาชีพ

- ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวมีผลต่อการต่อต้านหรือยอมรับการทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

- การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคยารักษาโรคบางประเภท

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

จรวดขวดน้ำ

กิจกรรมจรวดขวดน้ำ
กิจกรรมจรวดขวดน้ำ
ระดับชั้นเรียน    มัธยมศึกษาตอนต้น        เวลา              1 - 2 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์
1.       นักเรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทำงานของจรวดและฝึกทักษะการสร้างแบบจำลอง
2.       นักเรียนสามารถอธิบายการปล่อยจรวดได้ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา
3.       นักเรียนเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน
หลักการ
          จรวดขวดน้ำออกแบบมาภายใต้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กล่าวคือ จรวดเคลื่อนที่สู่ท้องฟ้าด้วยกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา  เมื่อเราใส่น้ำเข้าไปในจรวดและอัดอากาศเข้าไป น้ำจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับออกมา การลมเข้าไปทำให้ความดันภายในลำตัวจรวดสูงขึ้น เมื่อดึงสลักออก แรงดันอากาศภายในจะดันให้น้ำพุ่งออกมา ทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาดันให้จรวดพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อจรวดถูกปล่อยขึ้นไปแล้ว แรงดันอากาศมิได้หายไปทันที แต่จะลดลงเรื่อยๆ   เนื่องจากปริมาณน้ำที่อยู่ในจรวดจะช่วยชะลอให้แรงดันค่อยๆ  ลดลง
อุปกรณ์ในการสร้างจรวด:
1.       ขวดน้ำอัดลมแบบพลาสติก 2 ขวด
2.       กรรไกร หรือ คัตเตอร์
3.       กระดาษแข็งสี
4.       เทปกาว
5.       ส่วนหัวจรวด
6.       ดินน้ำมัน
7.       ฐานยิงจรวดสำเร็จรูป
8.       ที่สูบลมจักรยาน
วิธีการสร้างจรวด
1.       ตัดขวดที่สองนำขวดมาต่อกันโดยเอาหันด้านก้นขวดเข้าหากันยึดให้แน่นโดยเทปกาว
2.       ตัดกระดาษแข็งตามที่ต้องการ  ทำเป็นรูปปีกจรวดแล้วยึดเข้ากับตัวขวด
3.       ตกแต่งตัวจรวดให้สวยงามตามความพอใจ
การดำเนินกิจกรรม
1.       แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม   กลุ่มละ 3 คนเท่าๆ กันตามความเหมาะสม แจกอุปกรณ์ และคำแนะนำวิธีการสร้างจรวด
2.       คุณครูอธิบายหลักการของจรวดขวดน้ำ  และกติกาในการแข่งขัน
3.       ในกลุ่มช่วยกันสร้างลำตัวจรวดโดยใช้ขวดน้ำพลาสติก และออกแบบครีบบังคับทิศทางซึ่งจะทำให้จรวดพุ่งขึ้นได้ตรง พร้อมทั้งตกแต่งลำตัวจรวดตามจินตนาการ
4.       ทดลองยิงจรวด และช่วยกันค้นหาอัตราส่วนของน้ำที่ใช้ว่ามีผลกับการเคลื่อนที่ของจรวดอย่างไร และอัตราส่วนเท่าใดที่จะทำให้จรวดพุ่งขึ้นได้สูงที่สุด จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกันว่าสามารถออกแบบให้จรวดพุ่งขึ้นได้สูงที่สุด
สรุปการทำกิจกรรม:
          หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้และสนุกกับการประดิษฐ์และยิงจรวดขวดน้ำกันแล้ว  ให้นักเรียนร่วมกันอธิบายถึงหลักการของจรวด และอัตราส่วนผสมที่ทำให้เกิดแรงดันให้จรวดไปไกลมากที่สุด ช่วยกันคิดว่าอัตราส่วนแบบใดเหมาะสมที่สุดเพราะเหตุใด

กฎข้อที่ 3 นิวตัน
         “ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงข้ามเสมอ” หรือ “แรงกระทำซึ่งกันและกันของวัตถุทั้งสอง ย่อมมีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้าม”
                แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา
               กฎข้อนี้แสดงให้เห็นว่าแรงทุกแรงจะเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เมื่อวัตถุ A ส่งแรงกระทำต่อวัตถุ B วัตถุ B ก็จะส่งแรงที่เท่ากันตอบกลับมาในทิศทางที่ตรงข้าม
ตัวอย่าง   เช่นผู้ที่กำลังเล่นสเกตเลื่อน ออกแรงผลักผู้เล่นคนอื่น ทั้งคู่ก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกัน






กำหนดค่ามุมยิงจรวด


จรวดขวดน้ำ : Kid Rangers ปฏิบัติการเด็กช่างคิด


แข่งขันจรวดขวดน้ำ


ภาพประกอบกิจกรรมจรวดขวดน้ำ







เพิ่มเติมภาพ : https://photos.app.goo.gl/cbTzo8Jk6MwDE4Gx8
และกลุ่มทักษะทางวิทยาศาสตร์ https://www.facebook.com/groups/1914277122218962/

จัดทำโดย  นายวีระชัย  จันทร์สุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นักดำน้ำในขวด

การทดลองเรื่อง นักดำน้ำในขวด
อุปกรณ์
ปลอกปากกาที่มีที่หนีบ ดินน้ำมัน คลิปหนีบกระดาษ ขวดพลาสติกใสใบใหญ่พร้อมฝาปิด
วิธีการทดลอง 1. นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปนักประดาน้ำให้มีลำตัวยาว 3.5 cm แล้วติดคลิปหนีบกระดาษที่ด้านหัวแล้ว แขวนไว้กับปลอกปากกา โดยนักดำน้ำจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมพอที่จะผ่านคอขวดลงไปได้
2. เติมน้ำลงไปในขวดแล้วหย่อนนักดำน้ำลงไป ส่วนบนของปากกาจะลอยปริ่มกับระดับน้ำ แล้วปิดฝาให้ แน่น แล้วบีบบริเวณกลางขวด แล้วสังเกตุการเปลี่ยนแปลง
ผลการทดลอง เมื่อบีบขวดจะทำให้นักดำน้ำจมลง และเมื่อปล่อยมือจะทำให้นักดำน้ำลอยขึ้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อวางปลอกปากกาลงไปในน้ำฟองอากาศจะเข้าไปอยู่ข้างในปลอกปากกาทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำดังนั้นนักดำน้ำจึงลอยขึ้น เมื่อเราบีบขวดพลาสติกน้ำจะถูกดันเข้าไปอัดอากาศที่อยู่ในปลอกปากกา ทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ดังนั้นนักดำน้ำจึงจม เมื่อปล่อยมือ ขวดพลาสติกจะขยายตัวออก อากาศที่อยู่ในปลอกปากกาจะขยายตัวทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ดังนั้นมันจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำอีกครั้งหนึ่ง
การนำไปใช้ การทดลองดังกล่าวใช้หลักการเช่นเดียวกับการสร้างเรือดำน้ำ

ผีผลัก

การทดลองเรื่อง ผีผลัก
อุปกรณ์ หลอดดูดน้ำ 6 หลอด กระป๋องเปล่า 2 กระป๋อง
ขั้นตอนการทดลอง
1. นำกระป๋องทั้งสองมาวางบนหลอดดูดน้ำ ซึ่งวาง 1 กระป๋องต่อ 3 หลอด ซึ่งวางห่างกัน เล็กน้อย
2. เป่าลมให้ผ่านระหว่างกระป๋องทั้งสอง
ผลการทดลอง กระป๋องทั้งสองจะเคลื่อนที่เข้าหากัน แทนที่จะเคลื่อนที่ออกจากกัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อากาศที่มีความดันต่ำระหว่างกระป๋องทั้งสอง จะถูกอากาศที่มีความดันสูงที่อยู่ภายนอกดันให้กระป๋องทั้งสองเคลื่อนที่เข้าหากัน เนื่องจากอากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความดันสูงไปสู่บริเวณที่มีความดันต่ำ
การนำไปใช้ ใช้ในการป้องกันตัวเองในกรณีที่ยืนอยู่ที่ชานชะลา หรือหน้าผา จะได้ไม่เข้าไปยืนใกล้รางรถไฟมากเกินไปขณะที่มีรถไฟวิ่งผ่าน หรือ ยืนใกล้หน้าผาสูงมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้เกิดแรงผลักให้เข้าไปหารถไฟ หรือเหว ส่งผลให้เสียชีวิตได้

ลมพัด

การทดลองเรื่อง ลมพัด
อุปกรณ์ กระดาษ ลม
ขั้นตอนการทดลอง 1. พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า (3 ด้าน) วางไว้บนโต๊ะ 2. เป่าลมเข้าไปที่ใต้กระดาษนั้น
ผลการทดลอง กระดาษจะยึดติดแน่นอยู่กับโต๊ะ แทนที่จะพลิก
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเป่าลมผ่านเข้าไปในช่องกระดาษ ภายใต้ช่องกระดาษจะเกิดความดันต่ำ ซึ่งโดยธรรมชาตินั้นอากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความดันสูงไปบริเวณที่มีความดันต่ำ ทำให้อากาศที่มีความดันสูงกว่าที่อยู่บริเวณภายนอกพื้นที่สี่เหลี่ยมนั้นจะผลักกระดาษลงให้ยึดติดกับผิวโต๊ะมากขึ้น ถ้ายิ่งเป่าลมแรงเท่าไหร่ กระดาษก็จะยิ่งมีแรงยึดติดกับโต๊ะมากเท่านั้น
การนำไปใช้ ใช้ในการช่วยป้องกันในกรณีที่มีพายุผ่านเข้ามา ถ้าบ้านเปิดประตูหน้าเอาไว้แต่ประตูหลังปิด ทำให้ลมจากพายุนั้นไม่สามารถที่จะผ่านไปได้ ทำให้ภายในบ้านมีความดันอากาศสูงมาก ๆ ก็ส่งผลให้หลังคาสามารถเปิดออกได้ สามารถแก้ไขได้โดยเมื่อมีลมพายุผ่านเข้ามาให้เปิดทั้งประตูหน้าและประตูหลัง ทำให้ลมสามารถผ่านไปได้ ความดันจากภายนอกจะผลักทำให้บ้านสามารถยึดติดกับพื้นได้มากขึ้น

โทรศัพท์วิทยุ

การทดลองเรื่อง โทรศัพท์วิทยุอุปกรณ์ แก้วน้ำพลาสติก 2 ใบ เส้นด้าย เข็ม กรรไกร ไม้จิ้มฟัน 2 อัน
วิธีการทดลอง
1. นำแก้วนำมาเจาะรูที่ก้นแก้วหนึ่งรู
2. สอดด้ายยาวประมาณ 2-3 เมตร เข้าไปที่ก้นของแก้วน้ำ
3. ผูกด้ายที่ตรงกลางของไม้จิ้มฟันทั้ง 2 อัน ให้เชื่อมกันโดยให้ไม้จิ้มฟันอยู่ในแก้ว
4. ให้ฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายหนึ่งฟัง
5. ให้ฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายหนึ่งฟัง แต่มีการจับเชือก

ผลการทดลอง 
ผู้ฟังสามารถฟังเสียงอีกฝ่ายหนึ่งพูดได้ ถ้าหากไม่มีการจับเชือก ถ้าเราจับเชือกทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถได้ยินเสียงนั้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 
เสียงจะเดินทางได้ต้องอาศัยตัวกลางซึ่งปกติการที่มนุษย์สื่อสารกันธรรมดาอากาศที่อยู่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารนั้นจะเปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง แต่ สำหรับการทดลองเมื่อเราพูดในกระบอกแก้ว จะเปรียบเสมือนเป็นอากาศปิด เพราะฉะนั้นเสียงจึงต้องใช้ตัวกลาง ในที่นี้จะใช้เส้นด้ายที่อยู่ระหว่างเส้นด้ายทั้ง2 จึงทำให้ได้ยิน แต่ถ้าเมื่อเราไปรบกวนตัวกลาง โดยเอามือจับไว้ เป็นผลให้เราไม่ได้ยินเสียง
การนำไปใช้ 
การสื่อสารทั่วไปโดยใช้โทรศัพท์ซึ่งโทรศัพท์นี้อาศัยคลื่นไฟฟ้าแทนตัวกลางอากาศ

คานกระดาษ

การทดลองเรื่อง คานกระดาษ
อุปกรณ์
 แก้วน้ำ 3 ใบ กระดาษ A4 1 แผ่น
วิธีทำการทดลอง 
1. นำแก้ว 2 แก้ว มาวางห่างกันมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของแก้ว
2. นำกระดาษ A4 มาวางไว้บนแก้วทั้ง 2 ใบ
3. นำแก้วอีก 1 ใบ มาวางบนกระดาษ

ผลการทดลอง 
ถ้าวางแก้วน้ำบนกระดาษ a4 แผ่นเรียบ กระดาษจะรับน้ำหนักของแก้วน้ำไม่ไช้ทำให้แก้วน้ำตกลงมาก แต่ถ้าพันกระดาษสลับไปมาเป็นฟันปลาแล้ววางแก้วน้ำลงบนกระดาษที่ผับเปลา แก้วน้ำสามารถที่จะวางบนกระดาษได้โดยไม่ตกลงมา
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 
เนื่องจากแผ่นกระดาษเรียบจะรับน้ำหนักของแก้วน้ำเพียงจุดเดียว ส่วนกระดาษที่พับเป็นฟันปลา กระดาษจะกระจายน้ำหนักของแก้วน้ำ ตามขาของแก้วน้ำ ตามขอของด้านฟันปลา
การนำไปใช้ 
กระดาษเปรียบเสมือนคาน ถ้าคานไม่มีกระจายน้ำหนักคานตามบ่นเรือนต่างๆ ก็จะไม่สามารถรับน้ำหนักจำนวนมากได้