วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

ทรัพยากรพลังงาน

ทรัพยากรพลังงาน



ความหมายของพลังงาน

    พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้ ความสามารถดังกล่าวนี้เป็นความสามารถของวัตถุใดมีพลังงานวัตถุนั้นก็สามารถทำงานได้และคำว่างานในที่นี้เป็นผลของการกระทำของแรง ซึ่งทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวของแรงสิ่งใดก็ตามที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนตำแหน่งหรือเคลื่อนที่ไปจากที่เดิมได้สิ่งนั้นย่อมมีพลังงานอยู่ภายใน

     พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้โดยอาศัยแรงงานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติโดยตรง และที่มนุษย์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดัดแปลงใช้จากพลังงานตามธรรมชาติ ตามคำนิยามของนักวิทยาศาสตร์ พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุก็ได้

     พลังงาน คือ ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้ ซึ่งงานเป็นผลจากการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ซึ่งคุณสมบัติโดยทั่วไปของพลังงานมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำงานได้และเปลี่ยนรูปได้
ประเภทของพลังงาน
เนื่องจากความหลากหลายของพลังงานที่มีอยู่เป็นส่วนหนึ่งที่ ทำให้ผู้ศึกษาอาจเกิดความเข้าใจสับสนจึงได้มีนักวิชาการพยายามที่จะจำแนกอธิบายพลังงานเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษามากยิ่งขึ้นพลังงานสามารถจำแนกได้ ดังนี้
     จำแนกตามแหล่งที่ได้มา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. พลังงานต้นกำเนิด (Primary energy) หมายถึง แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่แล้วตามธรรมชาติสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ได้แก่ น้ำ แสงแดด ลม เชื้อเพลิงตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานความร้อนใต้พิภพ แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น

2. พลังงานแปรรูป (Secondary energy) หมายถึง สภาวะของพลังงานซึ่งได้มาโดยการนำพลังงานต้นกำเนิดดังกล่าวแล้วข้างต้นมาแปรรูป ปรับปรุง ปรุงแต่ง ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ กันได้ตามความต้องการ เช่น พลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านไม้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น

จำแนกตามแหล่งที่นำมาใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy resources) เป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมุนเวียนมาให้ใช้เป็นประจำ เช่น น้ำ แสงแดด ลม เป็นต้น

2. พลังงานที่ใช้หมดเปลือง (Non - renewable energy resources) ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น


จำแนกตามลักษณะการผลิต แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. พลังงานตามแบบ (Conventional energy) เป็นพลังงานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีลักษณะการผลิตเป็นระบบศูนย์กลางขนาดใหญ่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนามาจนเกือบอิ่มตัวแล้ว เช่น พลังงานน้ำขนาดใหญ่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เป็นต้น

2. พลังงานนอกแบบ (Non - conventional energy) ได้แก่ พลังงานที่ยังมีลักษณะการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการทำวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีหลายชนิดที่มีความเหมาะสมทางเทคนิคแล้ว แต่ยังต้องปรับปรุงความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ เช่น พลังน้ำขนาดเล็ก ก๊าซชีวภาพ ก๊าซจากชีวมวล หินน้ำมัน พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม เป็นต้น



โลกและการเปลี่ยนแปลง ม.2

วิชาวิทยาศาสตร์ ม. 2 เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง

ข้อที่ 1/20
คำถาม : ปรากฏการณ์ใดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าภายในโลกยังร้อนระอุ
ตัวเลือกที่ 1 : เกิดลมพายุ
ตัวเลือกที่ 2 : แผ่นดินไหว
ตัวเลือกที่ 3 : ภูเขาไฟระเบิด
ตัวเลือกที่ 4 : ดินแตกระแหง

ข้อที่ 2/20
คำถาม : พันเจีย (pangea)  หมายถึงข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : พื้นผิวที่เป็นทะเล
ตัวเลือกที่ 2 : ทวีปที่แยกกันเป็นสองทวีป
ตัวเลือกที่ 3 : แผ่นดินที่จมอยู่ใต้มหาสมุทร
ตัวเลือกที่ 4 : ทวีปที่รวมกันเป็นทวีปเดียว

ข้อที่ 3/20
คำถาม : ถ้าเปลือกโลก 2 แผ่น เคลื่อนที่ชนกัน และมุดกันจะเกิดอะไรขึ้น
ตัวเลือกที่ 1 : เทือกเขา
ตัวเลือกที่ 2 : ภูเขาไฟ
ตัวเลือกที่ 3 : ภูเขาไฟระเบิด
ตัวเลือกที่ 4 : ร่องลึกใต้มหาสมุทร

ข้อที่ 4/20
คำถาม : ลักษณะดินชั้นบนต่างกับดินชั้นล่างอย่างไร
ตัวเลือกที่ 1 : ดินชั้นบนมีฮิวมัสมากกว่า                                                                                                      ตัวเลือกที่ 2 :  ดินชั้นบนมีความพรุนน้อยกว่า
ตัวเลือกที่ 3 : ดินชั้นบนมีสีของเนื้อดินจางกว่า
ตัวเลือกที่ 4 : ดินชั้นบนมีขนาดเม็ดดินเล็กกว่า

ข้อที่ 5/20
คำถาม : จากการศึกษาผิวดินและหน้าตัดชั้นดิน พบว่าใต้ชั้นดินลงไปประกอบด้วยส่วนใด
ตัวเลือกที่ 1 : หินและแร่
ตัวเลือกที่ 2 : หินและทราย
ตัวเลือกที่ 3 : หินและกรด
ตัวเลือกที่ 4 : กรวดและทราย

ข้อที่ 6/20
คำถาม : ข้อใดเป็นการนำหินมาใช้ประโยชน์ไม่เหมาะสมกับลักษณะและคุณภาพของหิน
ตัวเลือกที่ 1 : นำหินปูนมาใช้ทำถนน           
ตัวเลือกที่ 2 : ใช้หินแกรนิตในงานก่อสร้าง
ตัวเลือกที่ 3 : ใช้หินดินดานมาใช้ในงานก่อสร้าง
ตัวเลือกที่ 4 :  นำหินทรายมาทำหินแกะสลัก

ข้อที่ 7/20
คำถาม : ระยะเวลาในการเย็นตัวของหินหนืด จะส่งผลต่อลักษณะใดของหินอัคนี
ตัวเลือกที่ 1 : ขนาดของหินอัคนี
ตัวเลือกที่ 2 : พื้นที่ในการเย็นตัวของหินอัคนี 
ตัวเลือกที่ 3 :  ลักษณะของเนื้อผลึก
ตัวเลือกที่ 4 : ปริมาณหินอัคนี 

ข้อที่ 8/20
คำถาม : จากคุณสมบัติต่อไปนี้             
1.   เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ             
2.   มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ             
3.   มีสูตรเคมีที่ไม่แน่นอน             
4.   สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นแร่ชนิดอื่นได้ง่าย             
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของแร่

ตัวเลือกที่ 1 : ข้อ 1 และ 2               
ตัวเลือกที่ 2 : ข้อ 2 และ 3
ตัวเลือกที่ 3 : ข้อ 3 และ 4
ตัวเลือกที่ 4 : ข้อ 1 และ 4

ข้อที่ 9/20
คำถาม : ชั้นหินที่เป็นแหล่งสะสมของปิโตรเลียม มีลักษณะอย่างไร
ตัวเลือกที่ 1 :  เป็นชั้นหินเนื้อแน่น           
ตัวเลือกที่ 2 : เป็นชั้นหินหนืด ซึ่งตอนบนมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่ 
ตัวเลือกที่ 3 : เป็นชั้นหินพรุน ซึ่งตอนบนมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่ 
ตัวเลือกที่ 4 : เป็นชั้นหินหนืด

ข้อที่ 10/20
คำถาม : การตัดไม้ทำลายป่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : แผ่นดินไหว     
ตัวเลือกที่ 2 : ภูเขาไฟระเบิด
ตัวเลือกที่ 3 :   ผิวหน้าดินถูกกัดกร่อน
ตัวเลือกที่ 4 : การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

ข้อที่ 11/20
คำถาม : ปรากฏการณ์ใดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าภายในโลกยังร้อนระอุ
ตัวเลือกที่ 1 : เกิดลมพายุ
ตัวเลือกที่ 2 : แผ่นดินไหว
ตัวเลือกที่ 3 : ภูเขาไฟระเบิด
ตัวเลือกที่ 4 : ดินแตกระแหง

ข้อที่ 12/20
คำถาม : พันเจีย (pangea)  หมายถึงข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : พื้นผิวที่เป็นทะเล
ตัวเลือกที่ 2 : ทวีปที่แยกกันเป็นสองทวีป
ตัวเลือกที่ 3 : แผ่นดินที่จมอยู่ใต้มหาสมุทร
ตัวเลือกที่ 4 : ทวีปที่รวมกันเป็นทวีปเดียว

ข้อที่ 13/20
คำถาม : ถ้าเปลือกโลก 2 แผ่น เคลื่อนที่ชนกัน และมุดกันจะเกิดอะไรขึ้น
ตัวเลือกที่ 1 : เทือกเขา
ตัวเลือกที่ 2 : ภูเขาไฟ
ตัวเลือกที่ 3 : ภูเขาไฟระเบิด
ตัวเลือกที่ 4 : ร่องลึกใต้มหาสมุทร

ข้อที่ 14/20
คำถาม : ลักษณะดินชั้นบนต่างกับดินชั้นล่างอย่างไร
ตัวเลือกที่ 1 : ดินชั้นบนมีฮิวมัสมากกว่า                                                                                                      ตัวเลือกที่ 2 :  ดินชั้นบนมีความพรุนน้อยกว่า
ตัวเลือกที่ 3 : ดินชั้นบนมีสีของเนื้อดินจางกว่า
ตัวเลือกที่ 4 : ดินชั้นบนมีขนาดเม็ดดินเล็กกว่า

ข้อที่ 15/20
คำถาม : จากการศึกษาผิวดินและหน้าตัดชั้นดิน พบว่าใต้ชั้นดินลงไปประกอบด้วยส่วนใด
ตัวเลือกที่ 1 : หินและแร่
ตัวเลือกที่ 2 : หินและทราย
ตัวเลือกที่ 3 : หินและกรด
ตัวเลือกที่ 4 : กรวดและทราย

ข้อที่ 16/20
คำถาม : ข้อใดเป็นการนำหินมาใช้ประโยชน์ไม่เหมาะสมกับลักษณะและคุณภาพของหิน
ตัวเลือกที่ 1 : นำหินปูนมาใช้ทำถนน           
ตัวเลือกที่ 2 : ใช้หินแกรนิตในงานก่อสร้าง
ตัวเลือกที่ 3 : ใช้หินดินดานมาใช้ในงานก่อสร้าง
ตัวเลือกที่ 4 :  นำหินทรายมาทำหินแกะสลัก

ข้อที่ 17/20
คำถาม : ระยะเวลาในการเย็นตัวของหินหนืด จะส่งผลต่อลักษณะใดของหินอัคนี
ตัวเลือกที่ 1 : ขนาดของหินอัคนี
ตัวเลือกที่ 2 : พื้นที่ในการเย็นตัวของหินอัคนี 
ตัวเลือกที่ 3 :  ลักษณะของเนื้อผลึก
ตัวเลือกที่ 4 : ปริมาณหินอัคนี 

ข้อที่ 18/20
คำถาม : จากคุณสมบัติต่อไปนี้             
1.   เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ             
2.   มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ             
 3.   มีสูตรเคมีที่ไม่แน่นอน             
4.   สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นแร่ชนิดอื่นได้ง่าย             
 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของแร่
ตัวเลือกที่ 1 : ข้อ 1 และ 2               
ตัวเลือกที่ 2 : ข้อ 2 และ 3
ตัวเลือกที่ 3 : ข้อ 3 และ 4
ตัวเลือกที่ 4 : ข้อ 1 และ 4

ข้อที่ 19/20
คำถาม : ชั้นหินที่เป็นแหล่งสะสมของปิโตรเลียม มีลักษณะอย่างไร
ตัวเลือกที่ 1 :  เป็นชั้นหินเนื้อแน่น           
ตัวเลือกที่ 2 : เป็นชั้นหินหนืด ซึ่งตอนบนมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่ 
ตัวเลือกที่ 3 : เป็นชั้นหินพรุน ซึ่งตอนบนมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่ 
ตัวเลือกที่ 4 : เป็นชั้นหินหนืด

ข้อที่ 20/20
คำถาม : การตัดไม้ทำลายป่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : แผ่นดินไหว     
ตัวเลือกที่ 2 : ภูเขาไฟระเบิด
ตัวเลือกที่ 3 :   ผิวหน้าดินถูกกัดกร่อน
ตัวเลือกที่ 4 : การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

เฉลยคำตอบ
1. ตอบ 3
2. 4
3. 1
4. 1
5. 1
6. 3
7. 3
8. 1
9. 3
10. 3
11. 3
12. 4
13. 1
14. 1
15. 1
16. 3
17. 3
18. 1
19. 3
20. 3


โลกและการเปลี่ยนแปลง

โลกและการเปลี่ยนแปลง

- โครงสร้างภายในโลก
- การเปลี่ยนแปลงบนผิวโลก
- ทรัพยากรดิน
- ทรัพยากรน้ำ
- ภัยธรรมชาติบนผิวโลก


- แบบทดสอบท้ายหน่วย








ระบบในร่างกาย

วิทยาศาสตร์ ม.2

ระบบในร่างกาย
1. ระบบผิวหนัง (Intergumentary System) ทำหน้าที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนัง เช่น ขน ผม เล็บ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน
2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ทำหน้าที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว
3. ระบบโครงกระดูก (Skeletal System) ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย
4. ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System) ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
5. ระบบหายใจ (Respiratory System) ทำหน้าที่รับออกซิเจนจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์จากภายในออกมาขับทิ้งสู่ภายนอกร่างกาย โดยอาศัยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นตัวกลางในการลำเลียงแก๊ส
6. ระบบประสาท (Nervous System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ให้สัมพันธ์กันโดยทำงานร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อนอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับและตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
7. ระบบต่อมต่าง ๆ (glands System) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีและของเหลวโดยทำงานร่วมกับระบบประสาทในการควบคุมปฏิกริยาการเผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย
8. ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

9. ระบบขับถ่าย (Excretory System) ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการให้ออกจากร่างกาย
10. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System) ทำหน้าที่สืบทอด ดำรงและขยายเผ่าพันธุ์ ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อไม่ให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์

ระบบผิวหนัง